วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ : ความน่าทึ่งของวาฬในทะเลต่อการเกิดออกซิเจนของโลก
วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ : สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา (25 กพ. 2565) ผมได้รับเชิญให้ไปบรรยายเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนกับการก้าวต่อของภูเก็ตแซนด์บ๊อกซ์ ในหลักสูตรอบรมผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่จังหวัดภูเก็ต
หนึ่ง ในสาระสำคัญที่ผมนำเสนอก็ คือ เมืองท่องเที่ยวทางทะเลทุกเมืองควรพัฒนาให้มีชุดความรู้ที่ลึกซึ้งขึ้นเรื่อยๆ เกี่ยวกับปัญหาที่จะมากับภาวะโลกร้อนและภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง นั่นคือน้ำทะเลจะท่วมสูง ท่วมสูงแค่ไหนคงเห็นต่างกันไปได้ แต่ในบางการคำนวณ ชายฝั่งใหม่ของพื้นที่ภาคกลางอาจลึกเข้าไปหลายกิโลเมตร ถ้าเป็นย่านที่ชายฝั่งดั้งเดิมเป็นแนวราบ ไม่ใช่แนวเนินเขา อันนี้เพื่อเตรียมเมืองชายฝั่งทั้งหลายให้สามารถออกแบบตัวเองเพื่อรอรับการมาถึงของผลกระทบจากน้ำทะเลยกระดับแบบถาวร เพราะภูเขาน้ำแข็งทั่วโลกกำลังมีอัตราการละลายที่รวดเร็วจนควรกังวลใจ จริงอยู่ ว่าเหตุการณ์นี้อาจไปเกิดในช่วงปี2100 คือ อีกเจ็ดสิบกว่าปีจากนี้ ในนั่นคือแค่หนึ่งชั่วอายุคนเท่านั้นนะครับ
สอง เมืองชายฝั่งทั้งหลายพึงรู้ว่า ออกซิเจนที่โลกมีนั้น แหล่งผลิตที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่แพลงตอนพืชที่อยู่กันมากมายในมหาสมุทรทั่วโลก การรักษาทะเลให้ไม่มีมลพิษลงไปปนเปื้อน ไม่มีพลาสติกลงไปลอยฟ่อง ไม่มีน้ำมันรั่วไหลเข้าไปรบกวน จะช่วยทำให้แพลงตอนที่มีหลายหมื่นชนิดในมหาสมุทร ยังคงทำภารกิจของมันต่อไปได้เรื่อยๆ
สาม การพานักท่องเที่ยวและนักดำน้ำออกไปชมวาฬในทะเลนั้น ควรให้ความรู้ด้วยว่า วาฬคือสัตว์สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่ช่วยให้แพลงตอนพืชได้รับสารอาหารสำคัญที่แพลงตอนต้องการ
สอง เมืองชายฝั่งทั้งหลายพึงรู้ว่า ออกซิเจนที่โลกมีนั้น แหล่งผลิตที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่แพลงตอนพืชที่อยู่กันมากมายในมหาสมุทรทั่วโลก การรักษาทะเลให้ไม่มีมลพิษลงไปปนเปื้อน ไม่มีพลาสติกลงไปลอยฟ่อง ไม่มีน้ำมันรั่วไหลเข้าไปรบกวน จะช่วยทำให้แพลงตอนที่มีหลายหมื่นชนิดในมหาสมุทร ยังคงทำภารกิจของมันต่อไปได้เรื่อยๆ
สาม การพานักท่องเที่ยวและนักดำน้ำออกไปชมวาฬในทะเลนั้น ควรให้ความรู้ด้วยว่า วาฬคือสัตว์สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่ช่วยให้แพลงตอนพืชได้รับสารอาหารสำคัญที่แพลงตอนต้องการ
เพราะวาฬจะไม่สามารถขับถ่ายมูลในขณะที่มันดำน้ำอยู่ลึกๆ เนื่องจากความดันใต้น้ำจะอุดทวารของมันไว้ด้วยแรงดัน วาฬทั้งหมดจึงต้องลอยขึ้นมาใกล้ผิวน้ำเพื่อขับถ่าย และหายใจ เพราะวาฬไม่ใช่ปลา มันไม่มีเหงือก !! มูลของวาฬอุดมไปด้วยสารอาหารที่แพลงตอนใช้ในการเติบโต แพลงตอนพืชหลายอย่างโดนแสงอาทิตย์แล้วจะสังเคราะห์แสง ปล่อยออกซิเจนออกมาที่ผิวน้ำ และดูดซับเอาคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปในตัวของมันแทน คล้ายกระบวนการที่ใบไม้บนบกทำตอนกลางวันนั่นเอง แต่ด้วยปริมาณแพลงตอนมีอยู่ทั่วทุกมหาสมุทร และมหาสมุทรก็คือพื้นผิวส่วนใหญ่ของโลกที่มีสารอาหารไม่เท่ากัน วาฬทั่วโลกราวหนึ่งล้านตัวท่องไปไม่มีหยุดในทุกน่านน้ำ ได้เป็นผู้พาสารอาหารที่อุดมไปปล่อยไว้ในย่านที่สารอาหารมีน้อยกว่า ทำให้แพลงตอนที่สังเคราะห์แสงได้ ได้รับสารอาหารที่จำเป็น การสังเคราะห์แสงปริมาณมหาศาลนี้เองที่ผลิตออกซิเจนเกิน60%ของโลกและดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ถึง30% อันเป็นวงจรสำคัญยิ่งสำหรับทุกอย่างบนดาวเคราะห์สีฟ้าดวงนี้
ทีนี้เราจึงยิ่งเห็นเหตุผลชัดขึ้น ว่าทำไมจึงต้องช่วยกันอนุรักษ์วาฬ
IMFระบุว่า ถ้าเพิ่มปริมาณแพลงตอนพืชขึ้นเพียง 1 % ก็จะสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ไว้เทียบเท่าต้นไม้2ล้านล้านต้น ! แต่วาฬกำลังตายเพราะถุงพลาสติกอุดตันในท้องบวกการถูกล่าเอาไขมัน ท่านที่สนใจอาจค้นความรู้เรื่องนี้มาศึกษาเพิ่มเติมได้จากรายงานวิจัยที่มีให้อ่านทั้งในภาคภาษาอังกฤษและภาษาไทย ซึ่งค้นได้ไม่ยากทางออนไลน์ เช่น ถ้าเมืองชายฝั่งและเมืองท่องเที่ยวทางน้ำเข้าใจเรื่องนี้ดีขึ้น อาจสามารถสร้างวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกับทะเลได้อย่างอย่างยั่งยืนขึ้นกว่าเดิมมาก และอาจทำให้เปลี่ยนวิธีใช้ชีวิตสำหรับทั้งผู้อยากมาอยู่และผู้มาเยือนได้เห็นเป็นตัวอย่าง การใช้ชีวิตที่เป็นมิตรต่อระบบนิเวศทางทะเล ดูจะเป็นสิ่งที่มีมนุษย์ฝึกฝนเอาไว้น้อยมาก ก็ถ้าไม่เริ่มจากคนใกล้ฝั่งทะเลแล้วจะให้เริ่มจากใคร
นี่อาจจะเป็นอีกพลังครั้งสำคัญที่จะช่วยถนอมเผ่าพันธุ์ต่างๆบนโลกเอาไว้ก็ได้ การพัฒนาอย่างยั่งยืนมีโมเดลที่สากลรณรงค์กันในปัจจุบันด้วยอักษรย่อว่า ESG คือ E มาจาก Environment แปลว่าสิ่งแวดล้อม S มาจาก Social แปลว่าการปฏิบัติที่ดึงภาคสังคมมีบทบาทร่วมดูแลกันและกันได้เต็มที่ และ G มาจาก Governance มาจากการเน้นที่ธรรมาภิบาล ในการจัดการในทุกๆ เรื่องราว
เรื่องนี้มีคนเขียนเล่าได้เป็นตำราอีกหลายเล่ม และเป็นหัวข้อสนทนาจริงจังในทั่วโลก
วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา รองประธานกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของวุฒิสภา และ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
ทีนี้เราจึงยิ่งเห็นเหตุผลชัดขึ้น ว่าทำไมจึงต้องช่วยกันอนุรักษ์วาฬ
IMFระบุว่า ถ้าเพิ่มปริมาณแพลงตอนพืชขึ้นเพียง 1 % ก็จะสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ไว้เทียบเท่าต้นไม้2ล้านล้านต้น ! แต่วาฬกำลังตายเพราะถุงพลาสติกอุดตันในท้องบวกการถูกล่าเอาไขมัน ท่านที่สนใจอาจค้นความรู้เรื่องนี้มาศึกษาเพิ่มเติมได้จากรายงานวิจัยที่มีให้อ่านทั้งในภาคภาษาอังกฤษและภาษาไทย ซึ่งค้นได้ไม่ยากทางออนไลน์ เช่น ถ้าเมืองชายฝั่งและเมืองท่องเที่ยวทางน้ำเข้าใจเรื่องนี้ดีขึ้น อาจสามารถสร้างวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกับทะเลได้อย่างอย่างยั่งยืนขึ้นกว่าเดิมมาก และอาจทำให้เปลี่ยนวิธีใช้ชีวิตสำหรับทั้งผู้อยากมาอยู่และผู้มาเยือนได้เห็นเป็นตัวอย่าง การใช้ชีวิตที่เป็นมิตรต่อระบบนิเวศทางทะเล ดูจะเป็นสิ่งที่มีมนุษย์ฝึกฝนเอาไว้น้อยมาก ก็ถ้าไม่เริ่มจากคนใกล้ฝั่งทะเลแล้วจะให้เริ่มจากใคร
นี่อาจจะเป็นอีกพลังครั้งสำคัญที่จะช่วยถนอมเผ่าพันธุ์ต่างๆบนโลกเอาไว้ก็ได้ การพัฒนาอย่างยั่งยืนมีโมเดลที่สากลรณรงค์กันในปัจจุบันด้วยอักษรย่อว่า ESG คือ E มาจาก Environment แปลว่าสิ่งแวดล้อม S มาจาก Social แปลว่าการปฏิบัติที่ดึงภาคสังคมมีบทบาทร่วมดูแลกันและกันได้เต็มที่ และ G มาจาก Governance มาจากการเน้นที่ธรรมาภิบาล ในการจัดการในทุกๆ เรื่องราว
เรื่องนี้มีคนเขียนเล่าได้เป็นตำราอีกหลายเล่ม และเป็นหัวข้อสนทนาจริงจังในทั่วโลก
วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา รองประธานกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของวุฒิสภา และ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
ที่มา https://www.facebook.com/Weerasak-Kowsurat
---------------------------------------------