ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ www.weerasak.org

เว็บไซต์วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ www.weerasak.org
มีความมุ่งมั่นเเละตั้งใจในการเผยแพร่เรื่องราวความรู้ความเข้าใจในการสร้างสรรค์สังคมด้วย การพัฒนาด้านเศรษฐกิจสังคมกฎหมายและการปกครอง เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนเพื่อลูกหลานรุ่นต่อ ๆ ไป
มองโลก มองความยั่งยืน
จบปริญญาโท กฎหมายสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด อดีตสมาชิกในบ้านพิษณุโลกมาตั้งแต่รัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ มีประสบการณ์พัฒนานโยบายสาธารณะมาต่อเนื่อง เป็นนักกฎหมายที่เชื่อมั่นในการพัฒนาที่ยั่งยืน
วีระศักดิ์ โควสุรัตน์
ผู้ที่มีความมุ่งมั่นเเละมีอุดมการณ์ในการสร้างสรรค์สังคมที่มีความเท่าเทียม การพัฒนาประเทศไทยให้มีความทันสมัย เจริญเติบโตควบคู่ไปกับการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อลูกหลานรุ่นต่อ ๆ ไป

วีระศักดิ์ ชี้ 7 หลักยึดในการออกแบบเมืองให้เดินได้สะดวก (Walkable City)

 

20 สิงหาคม 2567 วีระศักดิ์ ชี้ 7 หลักยึดในการออกแบบเมืองให้เดินได้สะดวก (Walkable City) ที่ห้องบอลรูมชั้น5 โรงแรม S31 ในการปาฐกถาพิเศษเรื่อง "เมื่อเมืองรองเริ่มออกเดิน : ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจเมืองรอง" ซึ่งจัดโดย ศูนย์การออกแบบและพัฒนาเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยธนาคารโลก (สำนักงานประเทศไทย) และ สำนักงานเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานสภาลมหายใจกรุงเทพฯ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวถึง 7 หลักการออกแบบเมืองที่ผู้คนจะเดินได้อย่างมีความสุขว่าต้องมีองค์ประกอบ
1. Passable ทางเดินที่สามารถจะเดินตัดผ่านเมืองย่านต่างๆได้โดยไม่ต้องอ้อม ไม่ต้องมีคอขวด

2. Accessible เข้าถึงได้ มีทางลาด มีป้ายบอก ที่ได้มาตรฐาน ผู้พิการทางกาย ทางการมองเห็น สตรีมีครรภ์ เด็กเล็ก รถเข็นเด็ก ฯลฯ เคลื่อนไหวเดินทางได้ไม่ติดขัด ไม่มีสิ่งกีดขวาง

3. Safe ทางที่ให้เดินนั้นปลอดภัย ทั้งบรรยากาศปลอดภัยและวัสดุที่ใช้สร้างทางก็ปลอดภัย การใช้งานก็ปลอดภัย

4. Convenient สะดวก ไม่แคบไป ไม่มีการเปลี่ยนระดับโดยไม่จำเป็น ถ้ามีทางลอดก็ต้องไม่เตี้ยไป ถ้ามีความคดโค้งก็ไม่มากไป

5. Comfortable เดินแล้วสบาย ไม่ร้อนไป ไม่อับลม ไม่มืดไป แสงส่องสว่างกลางคืนไม่ถูกบดบังด้วยต้นไม้ แต่ในเวลากลางวันมีร่มเงาร่มไม้อย่างพอเพียง

6. Enjoyable เดินแล้วเพลิน ตา เพลินใจ มีชีวิตชีวา ไม่น่าเบื่อ

และที่สำคัญที่สุด คือ 7. คณะผู้บริหารเมืองต้องมีนโยบายที่เห็นประโยชน์ของกิจกรรมการเดินของผู้คน ทั้งชาวเมืองและนักท่องเที่ยวผู้มาเยือน

"...ผมดีใจที่ปัจจุบันการหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งแต่ละระดับ ต่างก็ต้องตระเตรียมการบ้านมาไว้ตอบว่าจะทำให้ทางเท้า ทางข้ามถนน ร่มเงา ให้กับผู้เดินในเมืองย่านต่างๆอย่างไร รายงานวิจัยของธนาคารโลกตั้งแต่ปี2018 ชี้ว่า การเดินส่งเสริมสุขภาพกาย การเดินช่วยให้เศรษฐกิจขอบทางได้เข้าถึง คนตัวเล็กร้านรายย่อยขายของได้ การเดินทำให้เมืองมีชีวิต การเดินทำให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คน ลดมลพิษจากการต้องใช้ยานยนต์โดยไม่จำเป็น แปลว่าถ้าเราช่วยกันออกแบบระบบเมืองให้มีทางเดินเชื่อมกันได้ดี เราจะได้ทั้งสิ่งแวดล้อม สุขภาพ คุณภาพสังคมและเศรษฐกิจ..." นายวีระศักดิ์กล่าว

สำหรับในช่วงบ่ายวันเดียวกัน ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้บริหารเทศบาลนครต่างๆจากจังหวัด ร้อยเอ็ด นครศรีธรรมราช ลำพูน