ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ www.weerasak.org

เว็บไซต์วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ www.weerasak.org
มีความมุ่งมั่นเเละตั้งใจในการเผยแพร่เรื่องราวความรู้ความเข้าใจในการสร้างสรรค์สังคมด้วย การพัฒนาด้านเศรษฐกิจสังคมกฎหมายและการปกครอง เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนเพื่อลูกหลานรุ่นต่อ ๆ ไป
มองโลก มองความยั่งยืน
จบปริญญาโท กฎหมายสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด อดีตสมาชิกในบ้านพิษณุโลกมาตั้งแต่รัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ มีประสบการณ์พัฒนานโยบายสาธารณะมาต่อเนื่อง เป็นนักกฎหมายที่เชื่อมั่นในการพัฒนาที่ยั่งยืน
วีระศักดิ์ โควสุรัตน์
ผู้ที่มีความมุ่งมั่นเเละมีอุดมการณ์ในการสร้างสรรค์สังคมที่มีความเท่าเทียม การพัฒนาประเทศไทยให้มีความทันสมัย เจริญเติบโตควบคู่ไปกับการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อลูกหลานรุ่นต่อ ๆ ไป

ร่วมเวทีเสวนาเรื่อง "อุบลราชธานีเมืองหน้าด่านอาเซียนของไทยจะตั้งรับ PM2.5 อย่างไร"

 

15 มีนาคม 2568 ว่าที่พันตรี อดิศักดิ์ น้อยสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวเปิดและมอบของที่ระลึกแก่วิทยากรร่วมเวทีเสวนาเรื่อง "อุบลราชธานีเมืองหน้าด่านอาเซียนของไทยจะตั้งรับ PM2.5 อย่างไร"

จัดโดย ศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี สำนักประชาสัมพันธ์เขต 2 และสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 12 ณ ห้องประชุมอาคารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

ในการนี้ นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานสภาลมหายใจกรุงเทพฯได้เสนอให้เกิดการรวมตัวของพลเมืองตื่นรู้ ในรูปแบบสภาลมหายใจอุบลราชธานี และอาศัยการสื่อสารสัมพันธ์ระดับประชาชนและธุกิจ ตลอดจนการชวนเชิญให้นักศึกษาชาวลาว นักศึกษากัมพูชาที่เข้ามาเรียนในสถาบันการศึกษาในภาคอีสานร่วมกับกลุ่มผู้เดินทางเข้าเมืองมารับการตรวจสุขภาพ รักษาพยาบาล ที่มาจากลาวและกัมพูชาให้เห็นประโยชน์ด้านสุขภาพ โดยการกลับไปก่อตั้งสภาลมหายใจเมืองปากเซ ในลาว สภาลมหายใจจังหวัดพระวิหารในกัมพูชา แล้วจับมือกันทั้ง3สภาลมหายใจนี้มารับการฝึกอบรมการมองข้อมูลดาวเทียม การใช้แอพลิเคชั่นต่างๆที่ไม่มีค่าใช้จ่ายเพื่อใช้ติดตามตรวจสอบค่าฝุ่น ทิศทางลม ตลอดจนพิกัดจุดความร้อนในจังหวัดของตนเอง เพื่อส่งสัญญานให้รัฐบาลของตนใช้กำหนดท่าทีและมาตรการในการคุ้มครองสุขภาพของประชาชนของตนเอง

นอกจากนี้นายวีระศักดิ์ยังยกตัวอย่างมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ที่ประชาชนควรสนับสนุนให้รัฐออกระเบียบยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีที่ดินที่นำมาใช้ในการพักเศษวัสดุทางการเกษตร เช่นฟางข้าว ฟางข้าวโพด ใบอ้อย ใบไม้ เพื่อจะได้มีสถานที่รวบรวมชีวมวลเหล่านี้ไปจำหน่ายต่อแก่อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ อุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าชีวมวล หรือการค้าฟางเพื่อคลุมดิน และเลี้ยงปศุสัตว์ การใช้ฟางปูคอกสัตว์ซึ่งช่วยเปลี่ยนภาระจากการเสี่ยงถูกเผาเป็นฝุ่นควัน ยังได้สร้างเศรษฐกิจท้องถิ่นจากฐานชีวภาพ สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ตลอดจนเป็นรายได้เสริมแก่เกษตรกรที่หลีกเลี่ยงการเผาไปด้วย

ทั้งนี้ภายหลังจบการเสวนา ปรากฏว่าสื่อมวลชนท้องถิ่นและผู้เข้าฟังการเสวนาต่างให้ความสนใจสนับสนุนแนวคิดข้อเสนอดังกล่าว และสนใจจะไปก่อตั้ง สภาลมหายใจภาคประชาสังคม เพื่อการขับเคลื่อนพลังร่วมกับเพื่อนๆพลเมืองอาเซียนและลุ่มน้ำโขงต่อไป