ระดมสมองก่อนถกแถลงรายงาน Trade, & Development Report 2024
ระดมสมองก่อนถกแถลงรายงาน Trade, & Development Report 2024 รายงานการค้ากับการพัฒนา ของ UNCTAD ประจำปี 2024
ที่ห้องประชุมเธียเตอร์ อาคารสำนักงานสหประชาติ ESCAP ถนนราชดำเนินนอก สำนักงานสหประชาชาติเพื่อการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) จากนครเจนีวา ร่วมกับ สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา ซึ่งเป็นองค์การมหาชนไทย สังกัดกระทรวงพาณิชย์ (International Institute for Trade and Development หรือ ITD) และสมาคมนักเรียนเก่ามหาวิทยาลัยฮาร์วารด์ ประจำประเทศไทย (Harvard Club of Thailand) จัดให้มีการเสวนาประกอบการแถลงสรุปรายงาน การค้ากับการพัฒนา 2024
โดยมี นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ เป็นประธานกล่าวเปิด ในฐานะที่เป็นทั้งอดีตผู้อำนวยการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา และเป็นนักเรียนเก่าทางกฏหมายจากมหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด กล่าวนำ โดยมีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศและการพยายามเปิดเสรีการค้าของโลกดำเนินมาถึงจุดเปลี่ยนที่สร้างความโกลาหลรุนแรง จากนโยบายของผู้นำสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งมีทีท่าที่มองกติกาการค้าเสรีอย่างอึดอัดไม่ถูกใจมานาน นับแต่ช่วงแรกของการเข้าถึงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐครั้งแรก ตี้งแต่ก่อนโควิดในปี 2018 แล้ว ,ดดยนายวีระศักดิ์ย้อนภาพการประชุม จี7 ในปี 2018 ที่ผู้นำชาติพัฒนาแล้วที่ต่างแสดงท่าทีคัดค้านการแสดงนโยบายของนายโดนัล ทรัมป์ในรูปแบบวงปิด โดยท่าทีของผู้นำสหรัฐในวันนั้นนั่งกอดอก จ้องกลับแบบไม่สบอารมณ์นัก และบัดนี้ ทรัมป์กลับคืนสู่อำนาจในเวลาที่ผู้นำจี7วันนั้นต่างพ้นจากอำนาจไปหมดแล้ว และสหรัฐเลือกที่จะทำนโยบายการค้าแบบ"เอาคืน"ที่ระดมทั้งตัวเลขดุลการค้า และคำประกาศทวงความเป็นธรรมเอากับภูมิภาคต่างๆแทบทุกมุมโลกเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการคงฐานทัพและเส้นทางคุ้มครองที่กองทัพสหรัฐใช้จ่ายเพื่อธำรงเสถียรภาพให้โลก โดยต้องการให้ชาตืที่ค้าขายส่งออกสินค้ามายังสหรัฐยอมจ่ายค่าธรรมเนียมศุลกากรการนำเข้าในอัตรา"เอาคืน" ก่อให้เกิดความชะงักงันต่อบรรยากาศการค้าเสรีทั่วโลก
นายวีระศักดิ์ชี้ว่านี่จึงเป็นช่วงเวลาที่ผู้มีความรู้และประสบการณ์มีพันธกิจร่วมที่จะมาระดมสมอง หาทางเลือกและทางออกต่อบรรยากาศที่ไม่เป็นคุณต่อทั้งการพัฒนาที่ยั่งยืน และไม่เป็นคุณต่อบรรยากาศของการค้าในสภาวะท่เศรษฐกิจโลกก่อนทรัมป์2 ก็ยังฟื้นตัวช้าๆ ทั้งจากโควิด19 และความขีดแย้งของ Geopolitics ภาวะภัยธรรมชาติและอากาศสุดขั้วจากสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง และการกีดกันการเข้าถึงทรัพยากรระหว่างมหาอำนาจกับแหล่งผลิตแร่หายาก ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของเทคโนโลยีดิจิทัลต่างๆ
จากนั้น ดร.ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลก (WTO) และอดีตเลขาธิการองค์การสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ขึ้นให้ความเห็นเกี่ยวกับรายงานการค้าและการพัฒนา 2024 กับการกลับมาของโดนัลด์ ทรัมป์ ในฐานะประธานาธิบดีสหรัฐฯ สมัยที่ 2 หรือที่เรียกว่า “ทรัมป์ 2.0” นั้น ไม่ได้เป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงระเบียบโลก แต่เป็นเพียงการตอกย้ำปรากฏการณ์การเปลี่ยนผ่านที่เกิดขึ้นมานานแล้ว
และมองว่าทางออกหนึ่งที่น่าพิจารณาสำหรับชาติทั้งหลายต่อเหตุการณ์นี้ คือการเสนอให้มีเจ้าภาพจัดหารเจรจาพหุภาคีรอบใหม่ที่จำเพาะเจาะจงแบบให้เกียรติแก่สหรัฐเป็นรอบเฉพาะ ส่วนจะต้องเจรจากันนานเท่าใดก็สามารถวางกรอบเป็นเวลานับเดือนนับปีไป "...แต่สาระคือ โลกควรยึดมั่นในหลักการการเจรจาพหึภาคีเอาไว้ อย่าปล่อยให้การบีบชาติเล็กกว่าต้องจำใจเข้าสู่การเจรจาแบบทวิภาคีที่อำนาจต่อรองจะขาดความเสมอภาคระดับนั้น เพราะที่จริงแนวคิดการเจรจาการค้าพหุภาคีที่มุ่งสู่การเปิดเสรีและความเป็นธรรมที่เสมอภาคในการพัฒนาก็เป๋นฐานคิดตั้งต้นมาจากสหรัฐอเมริกาในฐานะแกนนำชาติผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่2 และชาติอื่นๆก็ทยอยเข้าร่วมในเวทีองค์การการค้าโลก หรือ WTO กันจนจะครบถ้วนไปแล้ว แม้แต่จีนก็ได้เข้าร่วมในทิศทางที่กติกาโลกตะวันตกออกแบบไว้แล้ว..."
จากนั้นนักเศรษฐศาสตร์ของ UNCTAD เชื่อมสัญญานเข้ามาร่วมสื่อสารบทวิเคราะห์ของรายงานการค้าและการพัฒนา จากเจนีวา
จบแล้วเป็นการตั้งเวทีเสวนาระหว่างดร.สมชาย ภคภาควิวัฒน์ นักวิชาการชื่อดัง ดร.ดอน นาครทรรพ์ นักวิชาการอาวุโสธนาคารแห่งประเทศไทย ดร.บุรินท์ อดุลย์วัฒนา นักวิเคราะห์เศรษฐกิจอาวุโสสถาบันวิจัยธนาคาร K แบงค์ ซึ่งต่างก็ให้ความเห็นว่าการวางแผนเจรจาท่าทีแบบร่วมกับประเทศอื่นๆที่กำลังประสบภาวะถูกตั้งกำแพงภาษีฝ่ายเดียวโดยสหรัฐ แต่มีข้อสังเกตว่า ในรายงานของ สำนักงานผู้แทนการค้าของสหรัฐ หรือ USTR นั้น กรณีประเทศไทยปรากฏเป็นสาระส่วนใหญ่ในรายงาน USTR ว่าไทยมีประเด็นที่สหรัฐติดใจเกี่ยวกับมาตรการกีดกันการนำเข้าที่ไม่ใช่ภาษี หรือ Non Tariff Barriers ไม่ใช่เรื่องอัตราภาษีศุลกากรสีกเท่าไหร่ ดังนั้น สิ่งที่ไทยควรพิจารณาทบทวนก็คือเรื่องมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี ว่ามีสิ่งที่เรามีความสมเหตุสมผลในการใช้มาตรการเหล่านั้นอยู่เพียงใด