ได้เวลาผ่าตัด !! ท่องเที่ยวไทยสู้ COVID-19 พลิกวิกฤตสู่ความยั่งยืน
ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ส่งผลกระทบไปยังทั่วโลกโดยเฉพาะภาคกาารท่องเที่ยว ซึ่งประเทศไทยถือเป็นประเทศที่พึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวเป็นหลัก มีปริมาณนักท่องเที่ยวเข้าสู่ประเทศไทยราว 39-40 ล้านคน ต่อปี ถึงตอนนี้ผลกระทบจากการแพร่ระบาดดังกล่าวเกิดขึ้นไปทุกหัวระแหง ทั้งโรงแรม, ที่พัก, บริษัททัวร์, สายการบิน และในระบบการท่องเที่ยว
วันนี้เองจึงได้มีการจัดสัมมนาพิเศษขึ้นในหัวข้อ “Turning two decades of crises into a third decade of opportunity” โดยมี นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และ Imtiaz Muqbil Executive Editor, Travel Impact Newswire พร้อมด้วยผู้ประกอบการโรงแรม, สายการบิน, บริษัททัวร์ กว่า 50 รายที่เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้เพื่อเตรียมตัว, ป้องกัน, รับมือ และวางแผนระยะยาว เพื่อเติบโตอย่างยั่งยืนร่วมกันในอนาคต
Imtiaz Muqbil Executive Editor, Travel Impact Newswire กล่าวว่า ถึงวันนี้สิ่งที่ภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมองไม่ใช่การเรียกความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียวในวิกฤตเช่นนี้ แต่เป็นการมองหาความปลอดภัยในการป้องกันและความมีเสถียรภาพของประเทศไทยอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ ในอดีตที่ผ่านมาประเทศไทยผ่านวิกฤตที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแบบรอบด้าน อาทิ ผลกระทบทางภัยพิบัติธรรมชาติ, ผลกระทบทางการเมือง, ผลกระทบทางเศรษฐกิจ แต่ตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่จะต้องใช้เวลาและโอกาสในช่วงนี้เตรียมความพร้อมเพื่อรับมือการกลับมาของนักท่องเที่ยว
“วันนี้อนาคตด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวอยู่ในมือของทุกคน สิ่งสำคัญคือการรับฟังและการแก้ไขปัญหาไปพร้อมกันเวทีสัมมนานี้จึงได้เกิดขึ้นท่ามกลางสถานการณ์ของการแพร่ระบาดที่ยังคงมีอยู่ แต่เราจะไม่รอให้มันช้าไปแล้วถึงจะเริ่มแก้ไขรับมือและฟื้นฟู เราสามารถเรียนรู้จักประวัติศาสตร์”
สำหรับการสำรวจความคิดเห็นของลำดับความสำคัญภายหลังการฟื้นตัวภาคการท่องเที่ยวต่อกรณีผลกระทบ COVID-19 อันดับ 1 คือ ความเชื่อมั่นและความปลอดภัย รองลงมาคือการปรับแนวคิดทางธุรกิจท่องเที่ยวใหม่ และอันดับที่ 3 คือมาตรการช่วยเหลือทางการเงินต่างๆ
นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า แนวทางการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์เวลานี้มี 2 ด้านคือ นโยบายด้านการเงิน อาทิ แหล่งเงิน, เงินกู้, การพักชำระหนี้ ซึ่งสิ่งเหล่าน่าต้องใช้ทรัพยากรด้านการเงินมหาศาล ขณะที่อีกด้านหนึ่งคือ นโยบายด้านการคลัง การฝึกอบรม, การพัฒนาบุคลากร ซึ่งนโยบายด้านการคลังดังกล่าวในเวลานี้ถือเป็นสื่องที่ควรทำมากที่สุดเนื่องจากจะช่วยยืดระยะเวลาการลดพนักงานออกไปได้ โดยรัฐบาลอาจจะสนับสนุนผู้ประกอบการให้ดำเนินการดังกล่าว
“เวลานี้อาจจะต้องถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องปิดประเทศเพื่อจัดการปัญหานี้อย่างจริงจัง ถ้าหากเจ็บมากก็ไม่เอาเจ็บน้อยก็ไม่อยาก หากปัญหาบานปลายใหญ่จะส่งผลต่อกระบวนการฟื้นความเชื่อมั่นได้”
แนะสายการบินจัดการที่นั่งในไฟล์ทที่ไม่เต็มให้กลายเป็นความเชื่อมั่นปลอดภัยในการเดินทาง
ปัจจุบันการเลือกที่หมายของนักท่องเที่ยวไม่ใช่เป็นเรื่องที่นักท่องเที่ยวกังวลเท่ากับวิธีการเดินทางของบริการขนส่งสาธารณะ ซึ่งต้องไม่แออัด, สะอาด และปลอดภัย สำหรับในส่วนที่เริ่มเห็นผลกระทบคือบริษัทสายการบินที่มีการแจ้งพนักงานหยุดงานโดยไม่รับค่าจ้าง โดยเฉพาะอาชีพนักบินที่เป็นอาชีพซึ่งมีความมั่นคงอาชีพหนึ่งก็ได้รับผลกระทบเช่นนี้แล้ว
อย่างไรก็ตาม มองว่าแม้เครื่องบินจะไม่ได้ถูกใช้งานเป็นเวลา 3 เดือน ในเดือนที่ 4 เครื่องบินก็ยังคงบินได้อยู่ แต่กระแสเงินสดทุกวันนี้เริ่มมีน้อยลงจากผลกระทบของ COVID-19 ซึ่งทำให้ต้องมีการบริการจัดการต้นทุนด้านบุคลากร แต่กระนั้นหากสายการบินลองใช้ช่วงเวลานี้ในการปรับวิธีการจัดการไฟลท์ที่ไม่เต็มทั้งบนเครื่องบนและที่สนามบินโดยการเจรจากับผู้ที่เกี่ยวข้องในการเว้นที่ว่างระหว่างที่นั่งให้มีระยะห่างเพียงพอ, มีการคัดกรองแบบเข้มงวด หรือมีมาตรการใดๆ ซึ่งเป็นวิธีการเพิ่มความสบายใจและปลอดภัยในการเดินทาง
“ความกลัวของผู้คน น่ากลัวกว่ากว่าความเชื่อมั่น เพราะความเชื่อมั่นในสถานการณ์ปัจจุบันไม่มีและตราบใดที่ยังไม่สามารถหาวิธีรักษาได้คนก็ยังกลัวต่อไป”
ถึงเวลาผ่าตัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
ที่ผ่านมาในส่วนงานต่างๆของภาคการท่องเที่ยวที่ยังไม่สามารถดำเนินการได้จากจำนวนปริมาณนักท่องเที่ยวที่เยอะมากในแต่ละวัน แต่ถึงวันนี้ทั้งในส่วนของกระทรวงฯเอง และ ผู้ประกอบการภาคการท่องเที่ยวเอง ทั้งในส่วนการพัฒนาการท่องเที่ยวหรือสถานที่เพื่อรองรับการฟื้นตัวภายหลังสถานการณ์คลี่คลาย
ขณะที่ เวลานี้ควรใช้สถานการณ์ที่นักท่องเที่ยวลดลงแก้ไขสถานการณ์ปัญหาที่ผิดพลาดและเกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องระยะยาว อาทิ ไกด์เถื่อน, สำรวจแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ, ยกะดับความสามารถทางภาษา เป็นต้น โดยรัฐอาจะเป็นผู้ว่าจ้างบุคลากรมายกระดับทักษะความสามารถและจัดการปัญหาต่างๆ
“มองว่าการเปลี่ยนวิธีใช้งบประมาณเพื่อสร้างโอกาสให้เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และจัดการปัญหาต่างๆให้ถึงระดับรากเหง้าของปัญหาแล้วจัดการในเวลานี้ที่มีเวลาอยู่”
ชวนผู้ประกอบการโรงแรมสร้างความเชื่อมั่นเชิงรุก
ถ้าหากสถานการณ์ COVID-19 ยังไม่ดีขึ้นในเร็ววันและอาจมีความเสี่ยงการยกระดับความรุนแรงในประเทศไทย ผู้ประกอบการโรงแรมอาจลองมองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่คือการเจรจากับภาครัฐในการให้สถานประกอบการของตนเป็นสถานกักกันควบคุมโรคหากเกิดกรณีโรงพยาบาลเต็ม โดยให้มีการบริหารจัดการที่ดีและควบคุมคุณภาพจากภาครัฐรวมถึงการอบรมบุคลากรหรือไม่
นอกจากนั้น การสร้างความเชื่อมั่นไม่ได้มาจากการประกาศเพียงอย่างเดียวแต่ต้องมาจากมาตรการการแก้ไขปัญหา ดังนั้นถ้าผู้ประกอบการเริ่มต้นจัดทำมาตรการป้องกันและมีการสื่อสารออกไปสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยวหรือผู้บริโภค อาจะเป็นการช่วยรัฐบาลคิดถึงมาตรการการแก้ไขปัญหาและการช่วยเหลือตัวเองเบื้องต้นได้
เสียงสะท้อนจากผู้เข้าร่วมสัมมนา
หนึ่งในผู้เข้าร่วมสสัมนาได้กล่าวถึงมาตรการประชานิยมแจกเงินให้ประชาชนในเวลานี้เพื่อกู้สถานการณ์ไวรัส COVID-19 นั้นส่วนตัวมองว่าจะเป็นการสร้างความเคยชินและสร้างนิสัยด้านลบให้กับประชาชน แต่ในทางกลับกันของการจัดการปัญหาในอดีตได้มีการใช้การอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบที่เรียกว่า “เงินผัน” ในยุคพรรคกิจสังคม โดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมทย์ ที่ก็เป็นนโยบายประชานิยมอย่างหนึ่งแต่แตกต่างกันที่วิธีการนั้นจะต้องให้ประชาชนทำงานแลกเงินซึ่งถือเป็นการสร้างให้เกิดการจ้างงาน
พร้อมกันนี้ยังกล่าวแสดงความเห็นในทิศทางเดียวกันกับเวทีสัมมนาถึงประเด็นการยกระดับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้เป็น New Tourism Model ซึ่งต้องมีการพัฒนาบุคลากรในด้านต่างๆ เสริมทักษะ ความรู้ ความสามารถ รวมถึงด้านภาษา เพื่อให้ทัดเทียมการแข่งขันกับประเทศคู่แข่งต่างๆ และนำไปสู่การเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ภายหลังการฟื้นตัวจากสถานการณ์ COVID-19
ที่มา ชูโมเดลการพัฒนายั่งยืนพลิกฟื้นเศรษฐิจ สร้างโอกาสใหม่ประเทศ (businesstoday.co)
---------------------------------------------