ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ www.weerasak.org

เว็บไซต์วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ www.weerasak.org
มีความมุ่งมั่นเเละตั้งใจในการเผยแพร่เรื่องราวความรู้ความเข้าใจในการสร้างสรรค์สังคมด้วย การพัฒนาด้านเศรษฐกิจสังคมกฎหมายและการปกครอง เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนเพื่อลูกหลานรุ่นต่อ ๆ ไป
มองโลก มองความยั่งยืน
จบปริญญาโท กฎหมายสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด อดีตสมาชิกในบ้านพิษณุโลกมาตั้งแต่รัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ มีประสบการณ์พัฒนานโยบายสาธารณะมาต่อเนื่อง เป็นนักกฎหมายที่เชื่อมั่นในการพัฒนาที่ยั่งยืน
วีระศักดิ์ โควสุรัตน์
ผู้ที่มีความมุ่งมั่นเเละมีอุดมการณ์ในการสร้างสรรค์สังคมที่มีความเท่าเทียม การพัฒนาประเทศไทยให้มีความทันสมัย เจริญเติบโตควบคู่ไปกับการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อลูกหลานรุ่นต่อ ๆ ไป

อภิปราย ‘’ความร่วมมือนานาชาติด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน’’

 

11 ตุลาคม 2566 นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา รองประธานกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของไทย ได้รับเชิญขึ้นอภิปราย ช่วง Public Talk ในหัวข้อ ‘’ความร่วมมือนานาชาติด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ’’ International cooperation on Sustainable Development ในเวทีการเสวนา Russian Ecological Forum ครั้งที่ 3 ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงมอสโคว์ ประเทศรัสเซีย

ผู้ร่วมเวทีเสวนาในครั้งนี้ประกอบด้วย ประธานกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติรัสเซีย เอกอัครราชทูตเม็กซิโก เอกอัครราชทูตศรีลังกา เอกอัครราชทูตฟิลิปปินส์ อดีตเอกอัครราชทูตรัสเซียประจำองค์การระหว่างประเทศ ประธานสภาธุรกิจอาเซียน-รัสเซีย และนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์จากประเทศไทย

ที่ประชุมได้ให้ความสนใจต่อข้อเสนอของนายวีระศักดิ์ที่เสนอปัญหาขยะพลาสติกในมหาสมุทรว่า คนตัวเล็กที่เดือดร้อนที่สุดและมีเสียงไม่ดังในทุกประเทศเลยก็คือ’’ชาวประมง’’ ในไม่ช้าโลกจะมีขยะพลาสติกในทะเลเป็นปริมาณมากกว่าจำนวนปลาในทะเลแล้ว และทุกครั้งที่ชาวประมงลากอวนขึ้นมาก็จะมีขยะพลาสติกติดขึ้นมาเป็นปริมาณมาก ดังนั้นในฐานะอดีตเลขาธิการสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติของไทยมาก่อน หากแต่ละประเทศที่ตระหนักถึงปัญหานี้จะผลิตภาพยนตร์สารคดีสั้นๆที่ทำให้เห็นว่าขยะทะเลได้ส่งผลต่อประมงชายฝั่งของประเทศตนอย่างไร ซึ่งเมื่อนำมารวมตัดต่อเข้าเป็นภาพยนตร์สารคดียาวเต็มเรื่อง ชาวโลกจะสามารถถูกกระตุ้นให้เข้าใจได้ว่าขยะในทะเลส่วนมาก มาจากขยะบนบกถึง80% การดูแลลำคลองแม่น้ำมิให้มีขยะไหลลงไปเท่านั้นจึงจะสามารถลดความรุนแรงของแพขยะในมหาสมุทรได้ รวมทั้งสังคมนานาชาติยังอาจสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีแปรรูปขยะแต่เป็นประโยชน์ให้ชาวประมงใช้งานต่อ เช่นใช้เทคโนโลยีบีบอัดขยะประเภทเศษยางและพลาสติกมาหลอมเป็นรองเท้าที่ชาวประมงในแต่ละภูมิภาคต้องใช้ตั้งแต่บูทยางจนถึงรองเท้าแตะ ซึ่งถ้าแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีที่สูงขึ้นระหว่างประเทศก็จะสามารถผลิตเครื่องนุ่งห่มที่ทอจากเส้นใยขยะพลาสติกผสมใยฝ้าย และถ้าถ่ายทอดเทคโนโลยีขั้นสูงกว่านั้นก็จะสามารถผลิตเป็น เป้ กระเป๋า เชือก หรือเครื่องใช้ที่มีราคาและความทนทานสูงๆ นำกำไรจากการจำหน่ายไปอุดหนุนเรือประมงในแต่ละชาติที่นำขยะทะเลกลับเข้าฝั่งมาให้กลุ่มสร้างสรรค์ต่างๆรับไปดำเนินการต่อไป

โดยนายวีระศักดิ์เลือกนำเสนอชิ้นงานผลิตภัณฑ์ตัวอย่างที่ไทยได้ร่วมกับเครือข่ายบริหารจัดการขยะทะเลพัฒนา เช่นเสื้อยืดทำจากเส้นใยที่ทอจากขวดพลาสติกขยะทะเล 18 ขวดออกมาเป็นเสื้อยืดหนึ่งตัว ถุงผ้าใส่แฟ้มเอกสารที่ทำจากเส้นใยขยะพลาสติก ที่ประชุมให้ความสนใจและประทับใจในการใช้มุมมองการแก้ปัญหาขนาดใหญ่ด้วยการใส่ใจชีวิตของคนตัวเล็กๆ ที่เป็นชาวประมงในแต่ละประเทศที่ต่างก็เป็นผู้มีรายได้น้อยของประเทศเหล่านั้น แต่กลับได้รับผลกระทบมหาศาล และมักไม่สามารถส่งเสียงให้สังคมได้ยินดังพอที่จะเปลี่ยนแปลง