ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ www.weerasak.org

เว็บไซต์วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ www.weerasak.org
มีความมุ่งมั่นเเละตั้งใจในการเผยแพร่เรื่องราวความรู้ความเข้าใจในการสร้างสรรค์สังคมด้วย การพัฒนาด้านเศรษฐกิจสังคมกฎหมายและการปกครอง เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนเพื่อลูกหลานรุ่นต่อ ๆ ไป
มองโลก มองความยั่งยืน
จบปริญญาโท กฎหมายสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด อดีตสมาชิกในบ้านพิษณุโลกมาตั้งแต่รัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ มีประสบการณ์พัฒนานโยบายสาธารณะมาต่อเนื่อง เป็นนักกฎหมายที่เชื่อมั่นในการพัฒนาที่ยั่งยืน
วีระศักดิ์ โควสุรัตน์
ผู้ที่มีความมุ่งมั่นเเละมีอุดมการณ์ในการสร้างสรรค์สังคมที่มีความเท่าเทียม การพัฒนาประเทศไทยให้มีความทันสมัย เจริญเติบโตควบคู่ไปกับการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อลูกหลานรุ่นต่อ ๆ ไป

ประชุมตามแนวทาง สำนักงานสีเขียวของ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

การพัฒนาต้องไม่ทิ้งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไว้ข้างหลัง

 

วันจันทร์ที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๖๕ คณะอนุกรรมาธิการการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ได้มีการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยการประชุมครั้งนี้ เป็นการประชุมตามแนวทาง สำนักงานสีเขียวของ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ด้วยการใช้เอกสารการประชุมในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ แทนการใช้กระดาษ เพื่อพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

๑. พิจารณาศึกษาเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ทรัพยากรทางบก ในส่วนของเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงประกาศกระทรวงการคลัง และกระทรวงมหาดไทย และความยั่งยืนของการใช้ที่ดินทางการเกษตร โดยเชิญปลัดกระทรวงการคลัง และผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง มาเข้าร่วมประชุม ทั้งนี้ ทางกระทรวงการคลังได้ให้ข้อมูลว่าได้มีการดำเนินการตามความในมาตรา ๓๗ ของพระราชบัญญัติภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ๒๕๖๒

๒. การพิจารณาศึกษาเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ทรัพยากรทางบก ในส่วนของการพิจารณาศึกษาเกี่ยวกับการเพิ่มพื้นที่ป่า และการดำเนินการตามความในพระราชบัญญัติสวนป่า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘ และการขับเคลื่อนการปลูกไม้เศรษฐกิจ และการส่งเสริม การปลูกไม้เศรษฐกิจในที่ดินกรรมสิทธิ์ โดยเชิญอธิบดีกรมป่าไม้ และผู้อำนวยการองค์การอุตาสหกรรมป่าไม้มาเข้าร่วมประชุมทั้งนี้ ที่ประชุมได้ตั้งข้อสังเกตและให้ข้อเสนอแนะ สรุปได้ดังนี้

๑. หน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นองค์กรที่มีขนาดเล็กเกินไปสมควรให้มีหน่วยงานหลักรับผิดชอบอย่างจริงจัง

๒. กรมป่าไม้ได้รายงานให้ทราบว่า การทำสวนป่า และเช่าพื้นที่ป่าไม้ทำสวนป่ายังไม่มีประชาชนมาลงทะเบียน เนื่องจากมีขัดข้องหลายประการ

๓. ควรยกเลิกพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. ๒๕๔๕

๔. ควรยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ ๑๕ พ.ค. ๒๕๓๓ และ มติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ ๘ ก.ย. ๒๕๓๕
(คณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติมีมติเห็นชอบ ในคราวประชุมครั้ง ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๘ มี.ค. ๒๕๖๕)

๕. ควรมีการสร้างมาตรการจูงใจในการส่งเสริมไม้เศรษฐกิจ และการลงทุนในอุตสาหกรรมไม้แบบครบวงจร มีมาตรการด้านการเงิน การคลัง และการตลาด 

 

#การพัฒนาต้องไม่ทิ้งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไว้ข้างหลัง