ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ www.weerasak.org

เว็บไซต์วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ www.weerasak.org
มีความมุ่งมั่นเเละตั้งใจในการเผยแพร่เรื่องราวความรู้ความเข้าใจในการสร้างสรรค์สังคมด้วย การพัฒนาด้านเศรษฐกิจสังคมกฎหมายและการปกครอง เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนเพื่อลูกหลานรุ่นต่อ ๆ ไป
มองโลก มองความยั่งยืน
จบปริญญาโท กฎหมายสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด อดีตสมาชิกในบ้านพิษณุโลกมาตั้งแต่รัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ มีประสบการณ์พัฒนานโยบายสาธารณะมาต่อเนื่อง เป็นนักกฎหมายที่เชื่อมั่นในการพัฒนาที่ยั่งยืน
วีระศักดิ์ โควสุรัตน์
ผู้ที่มีความมุ่งมั่นเเละมีอุดมการณ์ในการสร้างสรรค์สังคมที่มีความเท่าเทียม การพัฒนาประเทศไทยให้มีความทันสมัย เจริญเติบโตควบคู่ไปกับการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อลูกหลานรุ่นต่อ ๆ ไป

ร่วมประชุมร่างพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ..... วุฒิสภา ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕

ข่าวคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ..... วุฒิสภา ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ วันจันทร์ที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๕

คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. . นำโดย นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ มีการประชุม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันจันทร์ที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๙.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ CA - 429 ชั้น ๔ สัปปายะสภาสถาน อาคารรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. โดยเชิญ ดร.ขจร ธนะแพสย์ ผู้อำนวยการ ธนาคารแห่งประเทศไทย ในฐานะที่ปรึกษา กิ๊ตติมศักดิ์คณะกรรมาธิการวิสามัญ เข้าร่วมประชุมเพื่อให้ข้อมูลและเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระของ กยศ. ในภาพรวม สรุปได้ดังนี้

ในช่วง ๒๕ ปีที่ผ่านมา หนี้ กยศ. เป็นหนี้ที่มีอัตราหนี้เสียสูงสุด (NPIs ในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของไทยสูงกว่าช่วงต้มยำกุ้งที่ NPLs สูงสุดที่ร้อยละ ๔๗ สะท้อนความไม่ปกติและปัญหาเชิงโครงสร้างของเงินกู้ที่ต้องปฏิรูปแก้ไขอย่างเร่งด่วน การแก้ไขปัญหาหนี้ กยศ. จึงประสงค์ให้การแก้ไขตรงจุดให้มากที่สุดโดยมองปัญหาหนี้ กยศ. เกิดจากสาเหตุ ดังนี้

๑) ลูกหนี้ เกิดจากความยากจน หรือขาดวินัยทางการเงิน

๒) เจ้าหนี้เกิดจากการกำหนดอัตราดอกเบี้ยปรับสูงร้อยละ ๑๘ งวดการชำระหนี้ เป็นรายปีต้องจ่ายเป็นเงินก้อน ลำดับการตัดชำระหนี้ไม่เป็นธรรม และไม่ได้ให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่เพียงพอ

๓) คือ กติกา และ Ecosystem อาทิ กฎหมาย กฎระเบียบไม่เอื้อให้เกิดการปรับโครงสร้างหนี้ และการแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที จากสาเหตุข้างต้นจึงเป็นที่มาที่ต้องแก้ไขกฎหมายว่าด้วยกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา โดยในการแก้ไขปัญหาหนี้ กยศ. มีหลักการที่ต้องคำนึง ได้แก่

๑) กยศ. ได้รับการชำระเงินต้นคืนครบถ้วน เพื่อส่งต่อให้เด็กรุ่นต่อไปได้ใช้ศึกษาต่อ

๒) แผนการชำระหนี้ จะต้องคำนึงถึงความสามารถของผู้กู้โดยเฉพาะต้องมีระยะเวลาผ่อนชำระหนี้ที่ยาวเพียงพอ

๓ ประชาชนแต่ละคนที่มีพื้นเพและลักษณะแตกต่างกันต้องสามารถเลือกแผนการชำระหนี้ที่เหมาะสมกับตนเอง

๔) มีกลไกส่งเสริมผู้กู้ให้มีวินัยมีการผ่อนชำระหนี้ต่อเนื่อง รวมทั้งมีข้อมูลที่เพียงพอสำหรับผู้กู้เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจศึกษาต่อข้อเสนอในการปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ .) พ.ศ.. มี ๔ ประเด็น คือ

๑) อัตราดอกเบี้ย

๒) เบี้ยปรับ

๓) การเริ่มชำระหนี้ของผู้กู้ กยศ. ให้ขึ้นกับการมีงานทำและมีรายได้

๔) ระยะเวลาผ่อนชำระหนี้เงินกู้ที่มีระยะยาวกว่า ๑๕ ปี

"ประเด็นเร่งด่วนที่สำคัญมากกว่า คือ การแก้ไข พ.ร.บ. กยศ. ต้องเสร็จทันสมัยประชุม ไม่เช่นนั้นผู้ที่จะเดือดร้อนที่สุด คือ ผู้กู้ กยศ. เพราะถ้ากฎหมายไม่ผ่าน กยศ. จะไม่สามารถปรับลดเบี้ยปรับให้แก่ผู้กู้ได้เลย"

ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา

ร่างพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... วุฒิสภา