ขยะไทยล้นนำเข้ายิ่งสำลัก (ตอนที่ 3)
โดยวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา รองประธานคณะกรรมาธิการการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของวุฒิสภา
ความตอนที่แล้ว พาให้เราเข้าใจว่า ในเมื่อรัฐก็ประกาศว่าขยะเป็นวาระแห่งชาติแล้ว ประชาสังคมก็ขานรับ ว่าขยะพลาสติกเป็นปัญหาที่เราจะร่วมมือกัน ความร่วมใจแบบนี้ไม่ค่อยมีบ่อยหรอกนะครับ ถ้าใครจำตอนบังคับสวมหมวกกันน้อคได้ คนจำนวนหนึ่งคัดค้าน เอะอะ ตีโพยตีพายเผาหมวกกันน้อคโชว์เพื่อประท้วง แถมยืนยันว่าไม่สวม แล้วจะหนักศรีษะใคร ผ่านไปหลายปีกว่าจะค่อยๆสงบลงและดูจะค่อยๆร่วมมือดีขึ้นหน่อย ดังนั้นเมื่อสังคมและราชการเห็นพ้องเรื่องพิษภัยจากขยะพลาสติก เรื่องก็น่าจะราบรื่น ยิ่งเมื่อมีการจับกุมดำเนินคดีโรงงานที่ลักลอบนำขยะเข้าบ้าง สำแดงเท็จบ้าง ก็น่าจะทำให้กำราบกันได้ แต่เปล่าครับ เผลอแว้บเดียว นอกจากการเล่นกลในเขตปลอดอากรของกฏหมายศุลกากรแล้ว ฝ่ายผู้นำเข้าเศษพลาสติกจำนวนหนึ่งก็ไปเจอช่องทางน่าสนใจในกฏหมายนิคมอุตสาหกรรม ว่ามีมาตรา 48 49 และ 54
โดยมาตรา 48 บอกว่า ให้ของที่นำเข้าไปในเขตประกอบการเสรีได้รับสิทธิประโยชน์ทางอากรเช่นเดียวกับของที่นำเข้าไปในเขตปลอดอากรตามกฏหมายศุลกากร และให้รวมสิทธิประโยชน์ในกรณีดังต่อไปนี้ด้วย...
อันนี้เข้าใจง่ายอยู่ เพราะไม่ค่อยต่างจากเขตปลอดอากรนั่นเอง
แต่ในมาตรา 49 "ในกรณีการนำของเข้ามาในราชอาณาจักรหรือนำวัตถุดิบภายในเข้าไปในเขตประกอบการเสรีเพื่อผลิต ผสม ประกอบ บรรจุ หรือดำเนินการอื่นใดเกี่ยวกับของนั้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ให้ของนั้นได้’’รับยกเว้นไม่อยู่ภายในบังคับของกฏหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการควบคุมการนำเข้ามาในราชอาณาจักร การส่งออกไปนอกราชอาณาจักร การครอบครองหรือการใช้ประโยชน์ซึ่งของดังกล่าว หรือเกี่ยวกับการควบคุมมาตรฐานหรือคุณภาพ การประทับตราหรือเครื่องหมายใดๆแก่ของนั้น ‘’แต่ไม่รวมถึงกฏหมายว่าด้วยศุลกากร ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
ในกรณีที่ของตามวรรคหนึ่งเป็นของที่ก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อ....สุขภาพอนามัยของประชาชน หรือสิ่งแวดล้อม หรือเป็นของซึ่งประเทศไทยมีพันธกรณีตามข้อผูกพันตามสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศในส่วนที่เกี่ยวกับการนำเข้ามาในราชอาณาจักร การส่งออกไปนอกราชอาณาจักร การครอบครองหรือการใช้ประโยชน์ ให้รัฐมนตรี (อุตสาหกรรม)มีอำนาจออกกฏกระทรวงกำหนดชนิดหรือประเภทของดังกล่าวมิให้ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่งได้ ทั้งนี้ จะกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขใดๆเกี่ยวกับของนั้นไว้ด้วยก็ได้
และเมื่อส่องไปที่ มาตรา 54 พูดถึง …ของที่ไม่ใช้หรือใช้ไม่ได้ซึ่งอยู่ในเขตประกอบการเสรี ในกรณีที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบพาณิชกรรมขออนุญาตต่อ กนอ. เพื่อทำลาย.....ให้ กนอ.แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบพาณิชกรรมแล้วแต่กรณี และแจ้งอธิบดีกรมศุลกากรหรือผู้ที่แธิบดีกรมศุลกากรมอบหมายทราบ และให้อธิบดีกรมศุลกากรสั่งดำเนินการทำลายขงนั้นตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนด
ในกรณีที่ กนอ. ไม่อาจแจ้งบุคคลตามวรรคหนึ่งทราบได้ เมื่อ กนอ. ได้ปิดประกาศไว้ ณ สำนักงานของบุคคลดังกล่าวที่อยู่ในเขตประกอบการเสรีเป็นเวลา 7 วันให้ถือว่าบุคคลดังกล่าวได้รับทราบแล้ว
ของที่ได้ถูกทำลายตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าวในวรรคหนึ่งให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฏหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน อากรขาเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิต
อ่านแล้วพอมองเห็นความเป็นไปได้มั้ยครับ
ประกอบกับ เมื่อ 23 กรกฏาคม 2561 มีประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม ยกเลิกหลักเกณฑ์ วิธีการเกี่ยวกับการอนุญาตให้นำเศษ เศษตัด และของที่ใช้ไม่ได้ซึ่งเป็นพลาสติกไม่ว่าใช้แล้วหรือไม่ก็ตามเข้ามาในราชอาณาจักร พศ. 2551 แล้วให้โควต้าโรงงานเดิมนำเข้าได้จนถึงกันยายน 2563
อ่านถึงตรงนี้ เราน่าจะรู้สึกแปลกๆทีเดียวละครับ ว่าตกลงมีใครสามารถเอาของน่าสงสัยเข้ามาแล้วทำลายไปตามข้อกติกาข้างต้นไปบ้างแล้วหรือไม่เพียงใด เพราะได้รับยกเว้นการบังคับจากหลายกฏหมายน่าดู
จุดนี้เอง ทำให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ที่เมื่อทราบข่าวว่าปีนั้นมีปริมาณการนำเข้าเศษพลาสติกพุ่งสูงมาก คือเฉียด 6 แสนตัน แถมทราบมาว่ากรมศุลกากรจับกุมคดีลักลอบนำเข้าขยะอิเลคทรอนิคส์และขยะพลาสติกถึง 103 คดี มีการระบายของกลางด้วยการเปิดประมูล (ไม่ใช่การบังคับส่งกลับไปประเทศต้นทางอย่างที่มาเลเซียหรือบางประเทศอื่นทำ) ก็ต้องอนุมานว่าขยะอิเลคทรอนิคส์และขยะพลาสติกเหล่านั้นก็คงยังอยู่ในแผ่นดินไทยต่อไปไม่น่าจะสอดคล้องกับความตั้งใจเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม ตามแผนปฏิรูปประเทศ หรือตามยุทธศาสตร์ชาติ ไม่เข้าอารมณ์กับการมีวาระแห่งชาติเรื่องขยะ กระมัง
คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติจึงได้ตั้ง คณะอนุกรรมการบริหารจัดการขยะพลาสติกและขยะอิเลคทรอนิคส์ โดยให้ รัฐมนตรีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธาน มี ปลัดทรัพยากรธรรมชาติ เป็นรองประธาน เมื่อพฤศจิกายน 2562
ดังนั้น พลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ จึงทำหน้าที่ประธานอนุกรรมการนี้ เป็นคนแรก จวบจนกระทั่งพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีเพื่อออกไปเป็นสมาชิกวุฒิสภา พร้อม ๆ กับผม ผ่านไปอีกปี เมื่อใกล้ครบระยะเวลาที่โควต้าการนำเข้าเศษพลาสติกจะหมดอายุลงตามแผน คือ เดือนกันยายน 2563 ก็มีข่าวว่า รัฐจะพิจารณาขยายเวลาผ่อนผันให้นำเข้าเศษพลาสติกต่อไปอีก
สมาคมซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่าและองค์กรภาคประชาสังคมอีก 65 องค์กรจึงออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านการขยายเวลานี้ แต่ประชาชนกำลังหูดับ ในช่วงปีที่ว่าเพราะโควิด19 เข้าโจมตีตลอดปี 2563
เลยไม่ค่อยมีใครจำข่าวประเด็นว่าจะมีการขยายการผ่อนผันให้นำเศษพลาสติกเข้ามาในไทยต่อหรือไม่
จากนั้นก็เกิดคลัสเตอร์ระบาดของโควิด 19 ที่ระยองบ้าง สมุทรสาครบ้าง ทยอยลามไปเรื่อยจนทุกคน เวริค์ฟรอมโฮมกันเป็นแถบ ข่าวอะไรอื่นที่ไม่ใช่โควิดก็มักไม่ได้รับความสนใจ
แม้ว่าพอข้ามปีใหม่ 2564 วันที่ 1 มกราคม มีข้อแก้ไขของอนุสัญญาบาเซล เพิ่มการควบคุมการเคลื่อนย้ายขยะพลาสติกข้ามแดน โดยเพิ่มข้อความกำหนดในเอกสารแนบว่าให้ขยะพลาสติกที่สันนิษฐานว่า เป็นขยะอันตรายต้องผ่านกระบวนการแจ้งและขอความยินยอมล่วงหน้าจากประเทศผู้นำเข้า นับว่าทั้งสังคมไทยและสังคมนานาชาติส่งสัญญาณในทิศทางเดียวกัน
แต่อีกเพียง 25 วันต่อมา กรมโรงงานอุตสาหกรรมก็แจ้งว่า มีปริมาณความต้องการนำเข้าเศษพลาสติกเพิ่มขึ้นอีก จากโรงงาน 46 แห่ง ซึ่งมีกำลังผลิตรวมกัน 5 แสนตันเศษ แต่กำลังต้องการนำเข้าเป็นปริมาณ 6 แสน 8 หมื่นตันต่อปี
โอ้โฮ เลยมั้ยครับ
โดยมาตรา 48 บอกว่า ให้ของที่นำเข้าไปในเขตประกอบการเสรีได้รับสิทธิประโยชน์ทางอากรเช่นเดียวกับของที่นำเข้าไปในเขตปลอดอากรตามกฏหมายศุลกากร และให้รวมสิทธิประโยชน์ในกรณีดังต่อไปนี้ด้วย...
อันนี้เข้าใจง่ายอยู่ เพราะไม่ค่อยต่างจากเขตปลอดอากรนั่นเอง
แต่ในมาตรา 49 "ในกรณีการนำของเข้ามาในราชอาณาจักรหรือนำวัตถุดิบภายในเข้าไปในเขตประกอบการเสรีเพื่อผลิต ผสม ประกอบ บรรจุ หรือดำเนินการอื่นใดเกี่ยวกับของนั้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ให้ของนั้นได้’’รับยกเว้นไม่อยู่ภายในบังคับของกฏหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการควบคุมการนำเข้ามาในราชอาณาจักร การส่งออกไปนอกราชอาณาจักร การครอบครองหรือการใช้ประโยชน์ซึ่งของดังกล่าว หรือเกี่ยวกับการควบคุมมาตรฐานหรือคุณภาพ การประทับตราหรือเครื่องหมายใดๆแก่ของนั้น ‘’แต่ไม่รวมถึงกฏหมายว่าด้วยศุลกากร ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
ในกรณีที่ของตามวรรคหนึ่งเป็นของที่ก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อ....สุขภาพอนามัยของประชาชน หรือสิ่งแวดล้อม หรือเป็นของซึ่งประเทศไทยมีพันธกรณีตามข้อผูกพันตามสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศในส่วนที่เกี่ยวกับการนำเข้ามาในราชอาณาจักร การส่งออกไปนอกราชอาณาจักร การครอบครองหรือการใช้ประโยชน์ ให้รัฐมนตรี (อุตสาหกรรม)มีอำนาจออกกฏกระทรวงกำหนดชนิดหรือประเภทของดังกล่าวมิให้ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่งได้ ทั้งนี้ จะกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขใดๆเกี่ยวกับของนั้นไว้ด้วยก็ได้
และเมื่อส่องไปที่ มาตรา 54 พูดถึง …ของที่ไม่ใช้หรือใช้ไม่ได้ซึ่งอยู่ในเขตประกอบการเสรี ในกรณีที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบพาณิชกรรมขออนุญาตต่อ กนอ. เพื่อทำลาย.....ให้ กนอ.แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบพาณิชกรรมแล้วแต่กรณี และแจ้งอธิบดีกรมศุลกากรหรือผู้ที่แธิบดีกรมศุลกากรมอบหมายทราบ และให้อธิบดีกรมศุลกากรสั่งดำเนินการทำลายขงนั้นตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนด
ในกรณีที่ กนอ. ไม่อาจแจ้งบุคคลตามวรรคหนึ่งทราบได้ เมื่อ กนอ. ได้ปิดประกาศไว้ ณ สำนักงานของบุคคลดังกล่าวที่อยู่ในเขตประกอบการเสรีเป็นเวลา 7 วันให้ถือว่าบุคคลดังกล่าวได้รับทราบแล้ว
ของที่ได้ถูกทำลายตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าวในวรรคหนึ่งให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฏหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน อากรขาเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิต
อ่านแล้วพอมองเห็นความเป็นไปได้มั้ยครับ
ประกอบกับ เมื่อ 23 กรกฏาคม 2561 มีประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม ยกเลิกหลักเกณฑ์ วิธีการเกี่ยวกับการอนุญาตให้นำเศษ เศษตัด และของที่ใช้ไม่ได้ซึ่งเป็นพลาสติกไม่ว่าใช้แล้วหรือไม่ก็ตามเข้ามาในราชอาณาจักร พศ. 2551 แล้วให้โควต้าโรงงานเดิมนำเข้าได้จนถึงกันยายน 2563
อ่านถึงตรงนี้ เราน่าจะรู้สึกแปลกๆทีเดียวละครับ ว่าตกลงมีใครสามารถเอาของน่าสงสัยเข้ามาแล้วทำลายไปตามข้อกติกาข้างต้นไปบ้างแล้วหรือไม่เพียงใด เพราะได้รับยกเว้นการบังคับจากหลายกฏหมายน่าดู
จุดนี้เอง ทำให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ที่เมื่อทราบข่าวว่าปีนั้นมีปริมาณการนำเข้าเศษพลาสติกพุ่งสูงมาก คือเฉียด 6 แสนตัน แถมทราบมาว่ากรมศุลกากรจับกุมคดีลักลอบนำเข้าขยะอิเลคทรอนิคส์และขยะพลาสติกถึง 103 คดี มีการระบายของกลางด้วยการเปิดประมูล (ไม่ใช่การบังคับส่งกลับไปประเทศต้นทางอย่างที่มาเลเซียหรือบางประเทศอื่นทำ) ก็ต้องอนุมานว่าขยะอิเลคทรอนิคส์และขยะพลาสติกเหล่านั้นก็คงยังอยู่ในแผ่นดินไทยต่อไปไม่น่าจะสอดคล้องกับความตั้งใจเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม ตามแผนปฏิรูปประเทศ หรือตามยุทธศาสตร์ชาติ ไม่เข้าอารมณ์กับการมีวาระแห่งชาติเรื่องขยะ กระมัง
คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติจึงได้ตั้ง คณะอนุกรรมการบริหารจัดการขยะพลาสติกและขยะอิเลคทรอนิคส์ โดยให้ รัฐมนตรีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธาน มี ปลัดทรัพยากรธรรมชาติ เป็นรองประธาน เมื่อพฤศจิกายน 2562
ดังนั้น พลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ จึงทำหน้าที่ประธานอนุกรรมการนี้ เป็นคนแรก จวบจนกระทั่งพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีเพื่อออกไปเป็นสมาชิกวุฒิสภา พร้อม ๆ กับผม ผ่านไปอีกปี เมื่อใกล้ครบระยะเวลาที่โควต้าการนำเข้าเศษพลาสติกจะหมดอายุลงตามแผน คือ เดือนกันยายน 2563 ก็มีข่าวว่า รัฐจะพิจารณาขยายเวลาผ่อนผันให้นำเข้าเศษพลาสติกต่อไปอีก
สมาคมซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่าและองค์กรภาคประชาสังคมอีก 65 องค์กรจึงออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านการขยายเวลานี้ แต่ประชาชนกำลังหูดับ ในช่วงปีที่ว่าเพราะโควิด19 เข้าโจมตีตลอดปี 2563
เลยไม่ค่อยมีใครจำข่าวประเด็นว่าจะมีการขยายการผ่อนผันให้นำเศษพลาสติกเข้ามาในไทยต่อหรือไม่
จากนั้นก็เกิดคลัสเตอร์ระบาดของโควิด 19 ที่ระยองบ้าง สมุทรสาครบ้าง ทยอยลามไปเรื่อยจนทุกคน เวริค์ฟรอมโฮมกันเป็นแถบ ข่าวอะไรอื่นที่ไม่ใช่โควิดก็มักไม่ได้รับความสนใจ
แม้ว่าพอข้ามปีใหม่ 2564 วันที่ 1 มกราคม มีข้อแก้ไขของอนุสัญญาบาเซล เพิ่มการควบคุมการเคลื่อนย้ายขยะพลาสติกข้ามแดน โดยเพิ่มข้อความกำหนดในเอกสารแนบว่าให้ขยะพลาสติกที่สันนิษฐานว่า เป็นขยะอันตรายต้องผ่านกระบวนการแจ้งและขอความยินยอมล่วงหน้าจากประเทศผู้นำเข้า นับว่าทั้งสังคมไทยและสังคมนานาชาติส่งสัญญาณในทิศทางเดียวกัน
แต่อีกเพียง 25 วันต่อมา กรมโรงงานอุตสาหกรรมก็แจ้งว่า มีปริมาณความต้องการนำเข้าเศษพลาสติกเพิ่มขึ้นอีก จากโรงงาน 46 แห่ง ซึ่งมีกำลังผลิตรวมกัน 5 แสนตันเศษ แต่กำลังต้องการนำเข้าเป็นปริมาณ 6 แสน 8 หมื่นตันต่อปี
โอ้โฮ เลยมั้ยครับ
พื้นที่หมด ขอเล่าต่อพรุ่งนี้ในตอนที่ 4 นะครับ
ที่มา https://www.facebook.com/ampai.ti/videos/524867788734202/
---------------------------------------------