ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ www.weerasak.org

เว็บไซต์วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ www.weerasak.org
มีความมุ่งมั่นเเละตั้งใจในการเผยแพร่เรื่องราวความรู้ความเข้าใจในการสร้างสรรค์สังคมด้วย การพัฒนาด้านเศรษฐกิจสังคมกฎหมายและการปกครอง เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนเพื่อลูกหลานรุ่นต่อ ๆ ไป
มองโลก มองความยั่งยืน
จบปริญญาโท กฎหมายสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด อดีตสมาชิกในบ้านพิษณุโลกมาตั้งแต่รัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ มีประสบการณ์พัฒนานโยบายสาธารณะมาต่อเนื่อง เป็นนักกฎหมายที่เชื่อมั่นในการพัฒนาที่ยั่งยืน
วีระศักดิ์ โควสุรัตน์
ผู้ที่มีความมุ่งมั่นเเละมีอุดมการณ์ในการสร้างสรรค์สังคมที่มีความเท่าเทียม การพัฒนาประเทศไทยให้มีความทันสมัย เจริญเติบโตควบคู่ไปกับการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อลูกหลานรุ่นต่อ ๆ ไป

ศาลฎีกาสั่งบริษัทผู้ก่อมลพิษ ชดใช้ชาวบ้านแม่ตาว 30 ล้านบาท

 

GreenUpdate : ศาลฎีกาสั่งบริษัทผู้ก่อมลพิษ ชดใช้ชาวบ้านแม่ตาว 30 ล้านบาท พร้อมแก้ไขฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม กรณีทำสารแคดเมียมปนเปื้อนลุ่มน้ำแม่ตาว ต.แม่ตาว อ.แม่สอด จ.ตาก

สภาทนายความ เปิดเผยความคืบหน้าในคดีการรั่วไหลของสารแคดเมียมในลุ่มน้ำแม่ตาว ต.แม่ตาว อ.แม่สอด จังหวัดตาก ว่า วันนี้ (1 ก.ค. 67) ศาลแพ่งกรุงเทพใต้นัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกา ในคดีสิ่งแวดล้อมคดีแพ่ง หมายเลขดำ 63/2552 คดีแพ่งหมายเลขแดง 1083/2558 ของศาลแพ่งกรุงเทพใต้

ศาลพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ ให้บริษัท ผ.จำเลยที่ 1 และ บริษัท ต.จำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าเสียหายให้กับชาวบ้านแม่ตาวแต่ละราย ตามคำพิพากษาศาลของศาลอุทธรณ์ กว่า 30 ล้านบาท และให้บริษัท ผ.ทำการแก้ไขฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อม ให้ติดตามตรวจสอบ ส่งแผนการฟื้นฟูให้ศาลทราบทุก 6 เดือน และให้ส่งคำพิพากษาศาลฎีกาให้ทุกหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องทราบ

ย้อนไปต้นปี 2547 ลุ่มน้ำห้วยแม่ตาว อ.แม่สอด จ.ตาก กลายเป็นที่รู้จักอย่างกะทันหัน เมื่อถูกตรวจพบว่า ข้าวในนาถูกปนเปื้อนด้วยสารพิษที่ชื่อว่า “แคดเมียม” จนเกินค่ามาตรฐาน และเป็นอันตรายต่อสุขภาพของชาวบ้านในพื้นที่

หายนะที่เกิดขึ้นทวีความซับซ้อนและยากต่อการแก้ไขปัญหา เมื่อเหมืองสังกะสี 2 แห่ง ที่ตั้งอยู่ในลุ่มน้ำห้วยแม่ตาว ต่างปฏิเสธความรับผิดชอบ ขณะที่หน่วยงานของรัฐไม่สามารถชี้ชัดว่าใครคือต้นตอของปัญหา ชาวบ้านในพื้นที่เริ่มปรากฏอาการเจ็บป่วย ทั้งพืชที่ปลูกก็ขายไม่ได้ เพราะถูกตรวจพบว่ามีสารแคดเมียมปนเปื้อน

เมื่อทั้งสองบริษัท ต่างปฏิเสธที่จะรับผิดชอบกับการปนเปื้อนของสารแคดเมียม ท้ายที่สุด ชาวบ้านในพื้นที่ซึ่งส่วนใหญ่มีเชื้อสายกะเหรี่ยง ต้องร้องขอความช่วยเหลือจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและสภาทนายความฯ ขณะที่จังหวัดตาก ควักเงินก้อนโตเพื่อรับซื้อข้าวที่ปนเปื้อนแคดเมียมจากชาวบ้าน เพื่อนำมาทำลายทิ้ง

ภาพจาก : Somporn Pengkam

#GreenXpress #แม่ตาว #แคดเมียม