วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ : ‘’นาเกลือ’’ กับทัวร์จักรยานท่องเที่ยวชุมชน (ตอนที่2)
วันอาทิตย์ท่ี 20 กุมภาพันธ์ 2565 วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร่วมกิจกรรม ปั่นจักรยานเชิงอนุรักษ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวสีเขียว และเศรษฐกิจฐานราก
ความตอนที่แล้ว ผมเล่าโฟกัสไปที่การปั่นจักรยานท่องเที่ยวเป็นคณะเพื่อไปเยี่ยมชุมชนแล้ว ความตอนนี้จะขอเน้นสาระที่ได้รับจากการเยือนไปในชุมชน ‘’นาเกลือ ‘’ที่สมุทรสาครครับ ท่านที่เคยเดินทางผ่านนาเกลือริมถนนพระราม2 ตอนจะแล่นขึ้นล่อภาคใต้ น่าจะเคยเห็นนาเกลือ ในช่วงที่ผ่านมหาชัยไปสักพัก
นาเกลือที่นี่ ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าเป็นนาเกลือจากน้ำทะเล และใครๆก็อาจนึกว่าเพียงปล่อยน้ำทะเลมาขังไว้ในแปลงนา รอให้แดดเผาจนน้ำระเหย ก็จะเหลือเกลือให้เก็บขึ้นมา นับว่าเดาถูกในหลักการ แต่เอาเข้าจริง วิธีการมันละเอียดอ่อนกว่านั้นแยะทีเดียว
สมุทรสาครเป็นจังหวัดที่มีนาเกลือมากอันดับ 2 ของไทย คิดเป็น 43.1%ของพื้นที่นาเกลือทั้งประเทศ เพชรบุรีมีนาเกลือกว้างใหญ่เป็นอันดับ 1 คิดเป็นถึง 47% ของพื้นที่นาเกลือทั้งประเทศ รวมแค่สองจังหวัดนี้ก็ร่วมๆ 90% ของประเทศเข้าไปแล้ว ที่เหลือกระจายตามจังหวัดอื่นๆ เช่นสมุทรสงคราม ชลบุรี จันทบุรี ปัตตานีและที่ฉะเชิงเทรา
ความตอนที่แล้ว ผมเล่าโฟกัสไปที่การปั่นจักรยานท่องเที่ยวเป็นคณะเพื่อไปเยี่ยมชุมชนแล้ว ความตอนนี้จะขอเน้นสาระที่ได้รับจากการเยือนไปในชุมชน ‘’นาเกลือ ‘’ที่สมุทรสาครครับ ท่านที่เคยเดินทางผ่านนาเกลือริมถนนพระราม2 ตอนจะแล่นขึ้นล่อภาคใต้ น่าจะเคยเห็นนาเกลือ ในช่วงที่ผ่านมหาชัยไปสักพัก
นาเกลือที่นี่ ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าเป็นนาเกลือจากน้ำทะเล และใครๆก็อาจนึกว่าเพียงปล่อยน้ำทะเลมาขังไว้ในแปลงนา รอให้แดดเผาจนน้ำระเหย ก็จะเหลือเกลือให้เก็บขึ้นมา นับว่าเดาถูกในหลักการ แต่เอาเข้าจริง วิธีการมันละเอียดอ่อนกว่านั้นแยะทีเดียว
สมุทรสาครเป็นจังหวัดที่มีนาเกลือมากอันดับ 2 ของไทย คิดเป็น 43.1%ของพื้นที่นาเกลือทั้งประเทศ เพชรบุรีมีนาเกลือกว้างใหญ่เป็นอันดับ 1 คิดเป็นถึง 47% ของพื้นที่นาเกลือทั้งประเทศ รวมแค่สองจังหวัดนี้ก็ร่วมๆ 90% ของประเทศเข้าไปแล้ว ที่เหลือกระจายตามจังหวัดอื่นๆ เช่นสมุทรสงคราม ชลบุรี จันทบุรี ปัตตานีและที่ฉะเชิงเทรา
คณะปั่นจักรยานของเรา 32 ชีวิตออกปั่นลัดเลาะไปตามถนนซีเมนต์ จากศาลพันท้ายนรสิงห์ ตำบลโคกขาม ปั่นไปราว30นาทีผ่านถนนสายรองต่างๆมุ่งหน้าชายฝั่งทะเล แวะจอดดื่มน้ำ ทานไก่ปิ้งที่ริมทะเลเพื่อเติมพลังที่จุดชมวิว ’’สะพานแดง’’
ที่สะพานแดงนี้มีศาล’’เจ้าพ่อมัจฉานุ’’ และมีสะพานคอนกรีตยื่นไปในทะเล เป็นสะพานเดินชมป่าโกงกาง ช่วงที่เราไปถึง น้ำทะเลกำลังขึ้น คลื่นแยะ ลมพัดตึงทีเดียว นักชมปลาโลมานิยมมาที่จุดนี้ เพราะจะมีโลมาเข้ามาในย่านน้ำตื้น ในช่วงเดือนหน้าหนาว ลมพัดเปลี่ยนทิศ นำเอาสารอาหารซึ่งปลาจะว่ายตามตอดกินแล้วโลมาก็จะตามฝูงปลาเข้ามาอีกที
แม้วันนั้นเราอยู่ไม่นานพอจะรอเห็นโลมา แต่ก็ตื่นตากับสะพานแดงตามชื่อ เพราะตอนที่กรมโยธาฯสร้างสะพานเดินชมป่าชายเลนยาวไปตามชายฝั่งตั้ง700เมตรนั้น กรมโยธาทาสีแดงแปร๊ดที่ราวสะพานและไม้พื้นตลอดทางเดิน ทำไมถึงเลือกสีแดง ฟังว่า เพราะหมู่บ้านที่สะพานตั้งอยู่มีชื่อเดิมว่าหมู่บ้านแดง คลายสงสัยผู้ถามได้โดยไม่ยากเย็นอะไร
เรายืนรับลมกันพอใจแล้วก็ออกปั่นต่ออีก30นาที ทีนี้ผ่านทุ่งนาเกลือและบ่อเลี้ยงปลาเลี้ยงกุ้งเป็นแนวๆเยอะแยะ มีประตูควบคุมลำคลองหลายๆทอด น้ำทะเลกำลังขึ้น จึงเห็นน้ำท่วมเข้ากลุ่มป่าชายเลนจนปริ่มถนนคอนกรีต เราปั่นแบบสบายๆจนไปถึง ‘’ศูนย์การเรียนรู้การทำนาเกลือทะเล โคกขาม’’ มีร้านคาเฟ่เท่ๆ ริมย่านนาเกลือ มีชิงช้าสีชาวเก๋ไก๋ให้ได้นั่งเหม่อมองวิว ชมกังหันลมที่ตั้งอยู่ไกลออกไป มีลานแสดงอุปกรณ์นาเกลือ พร้อมรูปปั้นปูนสาวนาเกลือหน้าตาสะสวยดูจิ้มลิ้มเชียว
ที่นี่เราได้พบกับกลุ่มอื่นๆที่ก็ปั่นจักรยานมาถึงก่อนหน้าพวกเราอยู่แล้ว ลมตึงตามธรรมเนียม ราวกับมีใครเปิดพัดลมยักษ์จากในอ่าวไทยพุ่งมาตลอดเวลา แม้เราจะแต่งชุดปั่นจักรยานกันมิดชิดปิดลมปิดแดดตั้งแต่ศรีษะจนถึงหัวเข่า แต่เราก็สามารถรับลมที่พัดตึงขนาดนั้นได้อย่างชื่นอกชื่นใจ
ลูกค้าที่ปั่นกลางแดดมาครบชั่วโมงอย่างพวกเราจึงแห่กันสั่งเครื่องดื่มชดเชยเหงื่อและแก้กระหายกันตามเคย หัวหน้าคณะแนะนำว่า ปั่นจักรยานทางไกลฝ่าแดดบ้านเรา จงดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่ารอจนหิวน้ำ แล้วจึงค่อยหาจิบ ที่นั่น ผมสังเกตเห็นมีนักส่องนก ยืนติดตั้งกล้องส่องทางไกลสำหรับดูนกอยู่บนสามขาอันใหญ่ ท่านทราบว่าเราสนใจจึงหันมายิ้มทักทายยกมือไหว้สวัสดีกัน
นักส่องนกบอกว่า นกนอร์ทกำลังลงทั้งฝูงเลย!! ผมหรี่ตาเล็งแล้วเล็งอีกก็ไม่เห็นว่าจะมีอะไรบินอยู่ แถมราวป่าชายเลนไกลๆ ก็ไกลเกินจะเดาว่ามีนกหรืออะไรอยู่ตรงนั้นหรือเปล่า นักส่องนกเฉลยด้วยการชี้ให้มองลงไปในนาเกลือไกลออกไป จึงเห็นกลุ่มนกสีเทาๆ ตัวเล็กขาไม่ยาวนักยืนสู้ลมอยู่ราว 100 ตัวในนาเกลือ ที่น้ำทะเลตื้นๆ ไม่ท่วมแม้ตาตุ่มเรา พริ้วคลื่นระรัวจากแรงลมที่ผิวน้ำ
นึกเทียบกับการเห็นฝูงนกกระจิบกระจาบอยู่ในลานตากข้าวเปลือกที่เราเห็นคุ้นตาเวลาแล่นรถผ่านหน้าโรงสี เพียงแต่แปลกนิดนึงที่ฝูงนกขาสั้น ไปยืนทำอะไรในน้ำเค็มปี๋อย่างนาเกลือ นักส่องนกเลยเปิดเล่มสมุดภาพที่แสดงภาพนกต่างๆ ที่พบได้ในไทย รวบรวมโดย คุณหมอบุญส่ง เลขะกุลให้ผมดู ชี้ให้ดูภาพเจ้านกที่ว่า ว่านี่คือหนึ่งในนกอพยพย้ายถิ่นหนีหนาวที่นักดูนกมักจะเดินทางตามมาส่องดูพวกมันในไทย ณ ที่นาเกลือย่านนี้
ผมหรี่ตาจ้องหน้าพี่นักดูนกอีกครั้ง เพราะฉงนใจว่าเจ้าตัวเนี้ยะเหรอที่คนยอมเสียตังค์ซื้อตั๋ว ขนอุปกรณ์ราคาแพงบินตามแห่กันมาส่อง พี่นักดูนกคงรู้ใจ อธิบายต่อว่า ในยุโรปและโลกซีกเหนือๆ ขึ้นไปนั้น มีนกอยู่น้อยชนิด
แต่ไทยในฐานะประเทศร้อนชื้นเขตศูนย์สูตร มีความหลากหลายทางชีวภาพเยอะกว่ามาก มีนกมากสายพันธุ์ แถมจะมีนกหนีหนาวจากซีกโลกเหนือเข้ามา ตามฤดู แบ่งโซน แบ่งเส้นทางอย่างมีแบบแผนค่อนข้างแน่นอน
เจ้าตัวเล็กกลุ่มนี้เป็นหนึ่งในสามดาราใหญ่ที่นักส่องนกมาไทยเพื่อเฝ้าบันทึกภาพ นกเงือกสารพัดสายพันธุ์ในไทยนับเป็นหนึ่งในยอดปรารถนาที่จะได้เห็น เพราะมันเป็นนกใหญ่ที่โดดเด่นและพบได้เฉพาะในป่าฝนที่สมบูรณ์ สอง คือ นกน็อตเหล่านี้ที่แวะที่นี่ทุกปี และใกล้จะสูญพันธุ์ สาม คือ นกแต้วแร้ว สีสันจัดดี ผมเอาตาจิ้มลงไปที่เลนส์อีกหน ถามลอยๆ ว่าเลนส์นี้ดึงภาพได้ไกลดีจัง ถ้าเทียบกับเลนส์เทเลโฟโต้ของกล้องถ่ายรูปน่าจะเท่ากับเลนส์ขนาดกี่มิลลิเมตรเหรอครับพี่ ?
ที่ถามยังงั้นเพราะผมเคยเล่นกล้องถ่ายรูปและเปลี่ยนเลนส์ใช้งานมาหลายๆแบบตั้งแต่สมัยอยู่ชั้นมัธยม จึงสามารถจำหลักในการใช้เลนส์ถ่ายภาพ ว่าตัวเลขของเลนส์ที่มักมากับกล้องถ่ายภาพส่วนมากจะเป็นขนาด 50 มม. ใครอยากได้เลนส์มุมกว้างก็ควรหาซื้อเลนส์ที่ตัวเลขต่ำกว่า35มม.ลงไปเรื่อย จนมักจะหยุดแถวๆ 20 มม.
แค่นั้นก็ถ่ายภาพของห้องพักในโรงแรมให้ออกมาดูกว้างขวางโอ่โถงได้แล้ว แต่ถ้าจะเอากันถึงขนาดมองโลกได้กว้างราวดวงตาของนกที่บินหรืออย่างปลาตาโตใต้น้ำก็ต้องใช้เลนส์ขนาดต่ำกว่า 20 มม.ลงไปอีก และถ้าอยากถ่ายภาพนกจากระยะไกลเช่นนี้ ก็ต้องเลนส์เกิน 200 มม.ขึ้นไปจนอาจไปถึงสัก 1,000 มม.หรือมากกว่า แล้วแต่กำลังทรัพย์ แต่แค่เลนส์ 500 มม. เราก็ถือกล้องแทบไม่นิ่งแล้วเพราะเลนส์จะมีน้ำหนักแยะ และยื่นยาวออกไปจากกล้องราวฟุตกว่าถึงสองฟุตก็มี
พี่นักดูนกบอกว่ากล้องดูนกนี้เทียบเท่าเลนส์ถ่ายรูปขนาด 600 มม. ซึ่งเพียงพอจะส่องสังเกตนกที่ยืนอยู่ไกลๆทีละ 5-6 ตัวได้ แต่ถ้าจะส่องรายตัวกันชัด ๆ ก็ต้องหอบกล้องเดินเลาะลงไปโน่น…ว่าแล้วก็ชี้ให้ผมมองเห็นนักดูนกอีกรายที่กำลังย่องซุ่มอยู่ไกลลิบกำลังจะวางกล้องบนขาตั้งเพื่อดูเจ้านกฝูงเดียวกับเรา ผมพยักหน้าหงึกหงัก เงยหน้ารำพึงว่านกมันสีเทาตุ่น ๆ เนี่ยนะ ที่คนแห่กันมาดู
พี่เค้ายิ้มอารมณ์ดี บอกมีชาวสิงคโปร์ที่พอรู้ว่าฝูงเจ้านกนี้หนีหนาวไซบีเรียมาลงที่นี่ เค้ายอมซื้อตั๋วจากสิงคโปร์มาลงสนามบินสุวรรณภูมิ เช่ารถแล่นมาที่นาเกลือแห่งนี้เพื่อส่องนกนี้จนหมดแดด แล้วบินกลับไปนอนบ้านที่สิงคโปร์อย่างสุขใจ !! เอางั้นเลย!
ซักไซ้ต่อจึงได้ความว่า ตอนนกนี้อยู่ในโซนหนาว มันจะออกสีที่อกและคอกันสดใส แต่พอบินหลบหนาวมาย่านนี้ มันจะเปลี่ยนเป็นสีเทาตุ่นๆ แฟนคลับของมันจึงอยากเห็นให้ครบวงจร นับเป็นแฟนพันธ์ุแท้ทีเดียวแฮะ
ยิ่งถ้าเป็นพันธุ์ที่ปากเป็นช้อนไว้แซะเลนแซะทรายเพื่อกินสัตว์น้ำเล็กๆในนาเกลือ แฟนคลับจะซี้ดซ้าดมาก เพราะพบเจอได้ยาก ตานี้ผมจึงค่อยถึงบางอ้อ
นกหายากพวกนี้ขาสั้น ความตื้นของระดับน้ำในนาเกลือจึงเป็นที่ยืนรับแดดและก้มลงหากินสัตว์เล็กๆในนาเกลือได้สะดวก อีกแหล่งที่มันจะไปก็คือในเมียนมาร์ แถวเมาะตะมะ แต่นักดูนกบอกว่าตามกันไม่ไหวเพราะทางไม่สะดวก ต้องใช้เวลาเดินทางนานมากๆ แม้ในช่วงไม่มีความไม่สงบก็เถอะ
สวรรค์ของนักดูนกเขตศูนย์สูตรจึงอยู่ที่เมืองไทยนี่เอง เดินทางสะดวก ผู้คนเป็นมิตร อาหารอร่อยและมีหลากหลาย ระบบสาธารณสุขมีมาตรฐานกระจายตัวทั่วถึง การบริการแทบทุกอย่างมีความเป็นกันเอง ยิ่งที่นาเกลือ ห่างจากสนามบินนานาชาติเพียงนั่งรถ 2 ชั่วโมง และนาเกลือ ไม่ใช่สิ่งที่มีในทุกจังหวัด
นกเหล่านี้จึงมีนัดกับที่นี่เป็นประจำทุกปี ที่นี่มีการตั้ง ‘’ศูนย์ข้อมูลนกชายเลน’’ ขึ้น มีข้อมูลแนะนำแก่ผู้สนใจดูนก อยู่ห่างแค่ปั่นจักรยานอึดใจเดียว นาเกลือจึงมีดีมากกว่าที่คิด!
ผมถามด้วยความสงสัยต่อ ว่านกพวกนี้คงบินไปกินน้ำจืดที่อื่นแล้วค่อยมายืนรับแดดรับลมในนาเกลือนี้หรือเปล่า พี่นักดูนกบอกเปล่า มันอยู่ที่นี่แหละ กินสัตว์เล็กๆในนาเกลือเป็นหลัก น้ำที่มันจ้วงลงไปก็นั่นแหละคือน้ำที่ร่างกายมันได้รับ และความเค็มของน้ำเกลือที่เข้มข้นกว่าที่มีในทะเลก็ไม่ได้เป็นอันตรายสำหรับพวกมัน อ้อ…นึกว่าจะเป็นโรคไตกันเสียอีก
เราปั่นจากออกมาพร้อมอุดหนุนสารพันสินค้าชุมชนที่ทำขึ้นในนาเกลือ ผมได้ดอกเกลือที่ใส่กระปุกแก้วสวยๆกระปุกนึง มีช้อนไม้สั้นดูน่ารักติดมาในชุด ได้น้ำเกลือใสบรรจุขวดใช้สำหรับล้างผัก กับได้โลชั่นทำจากเกลือไปฝากคุณนายที่บ้าน ได้ยาสีฟันตลับซึ่งเป็นเหมือนผงละเอียดมีกลิ่นเหมือนข่อยผสมกับผงเกลือไปด้วย
คุณเม่น ภูริวัฒน์ นายกสมาคมท่องเที่ยวภายในประเทศ (สทน.) ที่เคยร่วมสารพัดทริปไปด้วยกันหลายที่ ตั้งแต่พาผมเดินชมย่านตลาดน้อยริมเจ้าพระยา พาไปลงเรือสำรวจท่องเที่ยวทางน้ำที่ปทุมธานี เคยไปพายซับบอร์ดกันที่คลองขุดแถวไทรน้อย นนทบุรี วันนี้แม้คุณเม่นไม่ได้ปั่นจักรยานกับเราด้วย แต่ก็ขับรถพาภรรยามาตามคณะเพื่อสำรวจสินค้าและเส้นทางท่องเที่ยวไปเสนอสมาชิกในสมาคมและเครือข่ายท่องเที่ยวไทยต่อ
งานค้นหาสตอรี่อย่างนี้แหละ ที่ผู้ประกอบการนำเที่ยวและมัคคุเทศก์อยากค้นเจอ เขาจะเอาไปประกอบสร้างเส้นทางนำชมนำชิมนำช้อปและช่วยแชะ และพาร่วมประสบการณ์กับกิจกรรมในชุมชนต่างๆที่มีกิจวัตรที่น่าสนใจ ตั้งแต่ทำนาเกลือ เก็บดอกเกลือ ทำสปาเกลือ ลองทำกับข้าวสูตรท้องถิ่นของชาวบ้าน นั่งวาดภาพสีน้ำโดยใช้นาเกลือกับแนวป่าโกงกางเป็นต้นแบบ แล้วแต่จะถนัด
ซึ่งก็ล้วนแต่ดีต่อธุรกิจสร้างสรรค์ ดีต่อชุมชนที่มีสามัคคี ร่วมภูมิใจในวิถีเฉพาะพื้นที่ ชาวบ้านได้รายได้เสริม และได้ทำกินอยู่กับถิ่นไม่ต้องทิ้งบ้านช่องไปในเมืองเพื่อหางานจ้าง
พูดถึง’’ดอกเกลือ ‘’ คุณป้า และคุณลุงที่เล่าถ่ายทอดให้เราฟังคนละช่วง จับความได้ว่า มันคือผลึกของเกลือที่เกิดขึ้นราวบัวแรกแย้ม
เกลือแต่ละย่านให้รสชาติต่างกัน แล้วแต่น้ำทะเลที่ชาวนาเกลือดึงไหลผ่านร่องน้ำผ่านป่าโกงกางกรองตะกอนต่างๆให้เข้ามาในแผ่นดินแล้วถูกกักไว้
กักแล้วรอให้ตกตะกอนจนใสดีแล้วค่อยเคลื่อนน้ำผ่านระหัดวิดน้ำบ้าง กังหันลมบ้างไปกักเติมเพิ่มความเข้มข้นของความเค็มตามสูตรของแต่ละย่าน
จนในที่สุดย้ายน้ำเกลือเข้มข้นนี้ไปเข้าแปลงตากสุดท้ายที่ออกแบบให้เหมาะที่สุดสำหรับการตากจนแห้ง
ตอนที่น้ำยังระเหยออกไปช่วงหนึ่ง จะได้ผลึกหรือดอกเกลือที่จับตัวอยู่บนผิวน้ำ ชาวนาเกลือจะรีบช้อนดอกเกลือขึ้นอย่างระมัดระวัง ถ้าปล่อยโดนลมโดนน้ำค้าง ดอกเกลือจะจมลงหายไป
ดอกเกลือจึงเป็นสิ่งที่ชาวนาเกลือถือเป็นของดี ปราชญ์ชาวบ้าน ลุงเลอพงษ์บรรยายว่าใช้ดอกเกลือทำกับข้าว จะอร่อยเพราะเค็มน้อยกว่าและออกหวานนิดๆไม่เหมือนเกลือปกติ
เกลือทะเลนั้นถ้าตากครบแล้วต้องก่อเป็นกองๆตามแบบภูมิปัญญาถิ่น จากนั้นย้ายกองไปเก็บในยุ้งฉางที่มิดชิด อย่าให้มีฝนหรือความชื้นใดสัมผัสเชียว ไม่งั้นเกลือจะละลายยุบตัว และอาจปนเปื้อนได้
ในแปลงนาเกลือบางจุดจะได้ดีเกลือไปผสมทำยาไทยโบราณ ส่วนน้ำของแปลงนาดีเกลือจะใช้เป็นสารประกอบช่วยให้เต้าหู้แข็งตัวได้ดี ที่คันนาเกลือมักมีต้นชะครามขึ้นอยู่ดาดดื่น ผัดทานได้อร่อยเสียด้วย แต่เนื่องจากผมไม่ได้มุ่งให้บทความนี้ลงลึกเรื่องนาเกลือ ผู้สนใจจึงอาจหาอ่านเพิ่มในเวปวิชาการเรื่องนาเกลือได้อีกหากสนใจ หรือไม่ก็ชวนครอบครัวออกไปปั่นจักรยานเยี่ยมศูนย์เรียนรู้ของชุมชนนาเกลือ กับชิมผัดกุ้งใส่ใบชะครามเสียเลยจะยิ่งดีเยี่ยมเลยครับ
วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
แม้วันนั้นเราอยู่ไม่นานพอจะรอเห็นโลมา แต่ก็ตื่นตากับสะพานแดงตามชื่อ เพราะตอนที่กรมโยธาฯสร้างสะพานเดินชมป่าชายเลนยาวไปตามชายฝั่งตั้ง700เมตรนั้น กรมโยธาทาสีแดงแปร๊ดที่ราวสะพานและไม้พื้นตลอดทางเดิน ทำไมถึงเลือกสีแดง ฟังว่า เพราะหมู่บ้านที่สะพานตั้งอยู่มีชื่อเดิมว่าหมู่บ้านแดง คลายสงสัยผู้ถามได้โดยไม่ยากเย็นอะไร
เรายืนรับลมกันพอใจแล้วก็ออกปั่นต่ออีก30นาที ทีนี้ผ่านทุ่งนาเกลือและบ่อเลี้ยงปลาเลี้ยงกุ้งเป็นแนวๆเยอะแยะ มีประตูควบคุมลำคลองหลายๆทอด น้ำทะเลกำลังขึ้น จึงเห็นน้ำท่วมเข้ากลุ่มป่าชายเลนจนปริ่มถนนคอนกรีต เราปั่นแบบสบายๆจนไปถึง ‘’ศูนย์การเรียนรู้การทำนาเกลือทะเล โคกขาม’’ มีร้านคาเฟ่เท่ๆ ริมย่านนาเกลือ มีชิงช้าสีชาวเก๋ไก๋ให้ได้นั่งเหม่อมองวิว ชมกังหันลมที่ตั้งอยู่ไกลออกไป มีลานแสดงอุปกรณ์นาเกลือ พร้อมรูปปั้นปูนสาวนาเกลือหน้าตาสะสวยดูจิ้มลิ้มเชียว
ที่นี่เราได้พบกับกลุ่มอื่นๆที่ก็ปั่นจักรยานมาถึงก่อนหน้าพวกเราอยู่แล้ว ลมตึงตามธรรมเนียม ราวกับมีใครเปิดพัดลมยักษ์จากในอ่าวไทยพุ่งมาตลอดเวลา แม้เราจะแต่งชุดปั่นจักรยานกันมิดชิดปิดลมปิดแดดตั้งแต่ศรีษะจนถึงหัวเข่า แต่เราก็สามารถรับลมที่พัดตึงขนาดนั้นได้อย่างชื่นอกชื่นใจ
ลูกค้าที่ปั่นกลางแดดมาครบชั่วโมงอย่างพวกเราจึงแห่กันสั่งเครื่องดื่มชดเชยเหงื่อและแก้กระหายกันตามเคย หัวหน้าคณะแนะนำว่า ปั่นจักรยานทางไกลฝ่าแดดบ้านเรา จงดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่ารอจนหิวน้ำ แล้วจึงค่อยหาจิบ ที่นั่น ผมสังเกตเห็นมีนักส่องนก ยืนติดตั้งกล้องส่องทางไกลสำหรับดูนกอยู่บนสามขาอันใหญ่ ท่านทราบว่าเราสนใจจึงหันมายิ้มทักทายยกมือไหว้สวัสดีกัน
นักส่องนกบอกว่า นกนอร์ทกำลังลงทั้งฝูงเลย!! ผมหรี่ตาเล็งแล้วเล็งอีกก็ไม่เห็นว่าจะมีอะไรบินอยู่ แถมราวป่าชายเลนไกลๆ ก็ไกลเกินจะเดาว่ามีนกหรืออะไรอยู่ตรงนั้นหรือเปล่า นักส่องนกเฉลยด้วยการชี้ให้มองลงไปในนาเกลือไกลออกไป จึงเห็นกลุ่มนกสีเทาๆ ตัวเล็กขาไม่ยาวนักยืนสู้ลมอยู่ราว 100 ตัวในนาเกลือ ที่น้ำทะเลตื้นๆ ไม่ท่วมแม้ตาตุ่มเรา พริ้วคลื่นระรัวจากแรงลมที่ผิวน้ำ
นึกเทียบกับการเห็นฝูงนกกระจิบกระจาบอยู่ในลานตากข้าวเปลือกที่เราเห็นคุ้นตาเวลาแล่นรถผ่านหน้าโรงสี เพียงแต่แปลกนิดนึงที่ฝูงนกขาสั้น ไปยืนทำอะไรในน้ำเค็มปี๋อย่างนาเกลือ นักส่องนกเลยเปิดเล่มสมุดภาพที่แสดงภาพนกต่างๆ ที่พบได้ในไทย รวบรวมโดย คุณหมอบุญส่ง เลขะกุลให้ผมดู ชี้ให้ดูภาพเจ้านกที่ว่า ว่านี่คือหนึ่งในนกอพยพย้ายถิ่นหนีหนาวที่นักดูนกมักจะเดินทางตามมาส่องดูพวกมันในไทย ณ ที่นาเกลือย่านนี้
ผมหรี่ตาจ้องหน้าพี่นักดูนกอีกครั้ง เพราะฉงนใจว่าเจ้าตัวเนี้ยะเหรอที่คนยอมเสียตังค์ซื้อตั๋ว ขนอุปกรณ์ราคาแพงบินตามแห่กันมาส่อง พี่นักดูนกคงรู้ใจ อธิบายต่อว่า ในยุโรปและโลกซีกเหนือๆ ขึ้นไปนั้น มีนกอยู่น้อยชนิด
แต่ไทยในฐานะประเทศร้อนชื้นเขตศูนย์สูตร มีความหลากหลายทางชีวภาพเยอะกว่ามาก มีนกมากสายพันธุ์ แถมจะมีนกหนีหนาวจากซีกโลกเหนือเข้ามา ตามฤดู แบ่งโซน แบ่งเส้นทางอย่างมีแบบแผนค่อนข้างแน่นอน
เจ้าตัวเล็กกลุ่มนี้เป็นหนึ่งในสามดาราใหญ่ที่นักส่องนกมาไทยเพื่อเฝ้าบันทึกภาพ นกเงือกสารพัดสายพันธุ์ในไทยนับเป็นหนึ่งในยอดปรารถนาที่จะได้เห็น เพราะมันเป็นนกใหญ่ที่โดดเด่นและพบได้เฉพาะในป่าฝนที่สมบูรณ์ สอง คือ นกน็อตเหล่านี้ที่แวะที่นี่ทุกปี และใกล้จะสูญพันธุ์ สาม คือ นกแต้วแร้ว สีสันจัดดี ผมเอาตาจิ้มลงไปที่เลนส์อีกหน ถามลอยๆ ว่าเลนส์นี้ดึงภาพได้ไกลดีจัง ถ้าเทียบกับเลนส์เทเลโฟโต้ของกล้องถ่ายรูปน่าจะเท่ากับเลนส์ขนาดกี่มิลลิเมตรเหรอครับพี่ ?
ที่ถามยังงั้นเพราะผมเคยเล่นกล้องถ่ายรูปและเปลี่ยนเลนส์ใช้งานมาหลายๆแบบตั้งแต่สมัยอยู่ชั้นมัธยม จึงสามารถจำหลักในการใช้เลนส์ถ่ายภาพ ว่าตัวเลขของเลนส์ที่มักมากับกล้องถ่ายภาพส่วนมากจะเป็นขนาด 50 มม. ใครอยากได้เลนส์มุมกว้างก็ควรหาซื้อเลนส์ที่ตัวเลขต่ำกว่า35มม.ลงไปเรื่อย จนมักจะหยุดแถวๆ 20 มม.
แค่นั้นก็ถ่ายภาพของห้องพักในโรงแรมให้ออกมาดูกว้างขวางโอ่โถงได้แล้ว แต่ถ้าจะเอากันถึงขนาดมองโลกได้กว้างราวดวงตาของนกที่บินหรืออย่างปลาตาโตใต้น้ำก็ต้องใช้เลนส์ขนาดต่ำกว่า 20 มม.ลงไปอีก และถ้าอยากถ่ายภาพนกจากระยะไกลเช่นนี้ ก็ต้องเลนส์เกิน 200 มม.ขึ้นไปจนอาจไปถึงสัก 1,000 มม.หรือมากกว่า แล้วแต่กำลังทรัพย์ แต่แค่เลนส์ 500 มม. เราก็ถือกล้องแทบไม่นิ่งแล้วเพราะเลนส์จะมีน้ำหนักแยะ และยื่นยาวออกไปจากกล้องราวฟุตกว่าถึงสองฟุตก็มี
พี่นักดูนกบอกว่ากล้องดูนกนี้เทียบเท่าเลนส์ถ่ายรูปขนาด 600 มม. ซึ่งเพียงพอจะส่องสังเกตนกที่ยืนอยู่ไกลๆทีละ 5-6 ตัวได้ แต่ถ้าจะส่องรายตัวกันชัด ๆ ก็ต้องหอบกล้องเดินเลาะลงไปโน่น…ว่าแล้วก็ชี้ให้ผมมองเห็นนักดูนกอีกรายที่กำลังย่องซุ่มอยู่ไกลลิบกำลังจะวางกล้องบนขาตั้งเพื่อดูเจ้านกฝูงเดียวกับเรา ผมพยักหน้าหงึกหงัก เงยหน้ารำพึงว่านกมันสีเทาตุ่น ๆ เนี่ยนะ ที่คนแห่กันมาดู
พี่เค้ายิ้มอารมณ์ดี บอกมีชาวสิงคโปร์ที่พอรู้ว่าฝูงเจ้านกนี้หนีหนาวไซบีเรียมาลงที่นี่ เค้ายอมซื้อตั๋วจากสิงคโปร์มาลงสนามบินสุวรรณภูมิ เช่ารถแล่นมาที่นาเกลือแห่งนี้เพื่อส่องนกนี้จนหมดแดด แล้วบินกลับไปนอนบ้านที่สิงคโปร์อย่างสุขใจ !! เอางั้นเลย!
ซักไซ้ต่อจึงได้ความว่า ตอนนกนี้อยู่ในโซนหนาว มันจะออกสีที่อกและคอกันสดใส แต่พอบินหลบหนาวมาย่านนี้ มันจะเปลี่ยนเป็นสีเทาตุ่นๆ แฟนคลับของมันจึงอยากเห็นให้ครบวงจร นับเป็นแฟนพันธ์ุแท้ทีเดียวแฮะ
ยิ่งถ้าเป็นพันธุ์ที่ปากเป็นช้อนไว้แซะเลนแซะทรายเพื่อกินสัตว์น้ำเล็กๆในนาเกลือ แฟนคลับจะซี้ดซ้าดมาก เพราะพบเจอได้ยาก ตานี้ผมจึงค่อยถึงบางอ้อ
นกหายากพวกนี้ขาสั้น ความตื้นของระดับน้ำในนาเกลือจึงเป็นที่ยืนรับแดดและก้มลงหากินสัตว์เล็กๆในนาเกลือได้สะดวก อีกแหล่งที่มันจะไปก็คือในเมียนมาร์ แถวเมาะตะมะ แต่นักดูนกบอกว่าตามกันไม่ไหวเพราะทางไม่สะดวก ต้องใช้เวลาเดินทางนานมากๆ แม้ในช่วงไม่มีความไม่สงบก็เถอะ
สวรรค์ของนักดูนกเขตศูนย์สูตรจึงอยู่ที่เมืองไทยนี่เอง เดินทางสะดวก ผู้คนเป็นมิตร อาหารอร่อยและมีหลากหลาย ระบบสาธารณสุขมีมาตรฐานกระจายตัวทั่วถึง การบริการแทบทุกอย่างมีความเป็นกันเอง ยิ่งที่นาเกลือ ห่างจากสนามบินนานาชาติเพียงนั่งรถ 2 ชั่วโมง และนาเกลือ ไม่ใช่สิ่งที่มีในทุกจังหวัด
นกเหล่านี้จึงมีนัดกับที่นี่เป็นประจำทุกปี ที่นี่มีการตั้ง ‘’ศูนย์ข้อมูลนกชายเลน’’ ขึ้น มีข้อมูลแนะนำแก่ผู้สนใจดูนก อยู่ห่างแค่ปั่นจักรยานอึดใจเดียว นาเกลือจึงมีดีมากกว่าที่คิด!
ผมถามด้วยความสงสัยต่อ ว่านกพวกนี้คงบินไปกินน้ำจืดที่อื่นแล้วค่อยมายืนรับแดดรับลมในนาเกลือนี้หรือเปล่า พี่นักดูนกบอกเปล่า มันอยู่ที่นี่แหละ กินสัตว์เล็กๆในนาเกลือเป็นหลัก น้ำที่มันจ้วงลงไปก็นั่นแหละคือน้ำที่ร่างกายมันได้รับ และความเค็มของน้ำเกลือที่เข้มข้นกว่าที่มีในทะเลก็ไม่ได้เป็นอันตรายสำหรับพวกมัน อ้อ…นึกว่าจะเป็นโรคไตกันเสียอีก
เราปั่นจากออกมาพร้อมอุดหนุนสารพันสินค้าชุมชนที่ทำขึ้นในนาเกลือ ผมได้ดอกเกลือที่ใส่กระปุกแก้วสวยๆกระปุกนึง มีช้อนไม้สั้นดูน่ารักติดมาในชุด ได้น้ำเกลือใสบรรจุขวดใช้สำหรับล้างผัก กับได้โลชั่นทำจากเกลือไปฝากคุณนายที่บ้าน ได้ยาสีฟันตลับซึ่งเป็นเหมือนผงละเอียดมีกลิ่นเหมือนข่อยผสมกับผงเกลือไปด้วย
คุณเม่น ภูริวัฒน์ นายกสมาคมท่องเที่ยวภายในประเทศ (สทน.) ที่เคยร่วมสารพัดทริปไปด้วยกันหลายที่ ตั้งแต่พาผมเดินชมย่านตลาดน้อยริมเจ้าพระยา พาไปลงเรือสำรวจท่องเที่ยวทางน้ำที่ปทุมธานี เคยไปพายซับบอร์ดกันที่คลองขุดแถวไทรน้อย นนทบุรี วันนี้แม้คุณเม่นไม่ได้ปั่นจักรยานกับเราด้วย แต่ก็ขับรถพาภรรยามาตามคณะเพื่อสำรวจสินค้าและเส้นทางท่องเที่ยวไปเสนอสมาชิกในสมาคมและเครือข่ายท่องเที่ยวไทยต่อ
งานค้นหาสตอรี่อย่างนี้แหละ ที่ผู้ประกอบการนำเที่ยวและมัคคุเทศก์อยากค้นเจอ เขาจะเอาไปประกอบสร้างเส้นทางนำชมนำชิมนำช้อปและช่วยแชะ และพาร่วมประสบการณ์กับกิจกรรมในชุมชนต่างๆที่มีกิจวัตรที่น่าสนใจ ตั้งแต่ทำนาเกลือ เก็บดอกเกลือ ทำสปาเกลือ ลองทำกับข้าวสูตรท้องถิ่นของชาวบ้าน นั่งวาดภาพสีน้ำโดยใช้นาเกลือกับแนวป่าโกงกางเป็นต้นแบบ แล้วแต่จะถนัด
ซึ่งก็ล้วนแต่ดีต่อธุรกิจสร้างสรรค์ ดีต่อชุมชนที่มีสามัคคี ร่วมภูมิใจในวิถีเฉพาะพื้นที่ ชาวบ้านได้รายได้เสริม และได้ทำกินอยู่กับถิ่นไม่ต้องทิ้งบ้านช่องไปในเมืองเพื่อหางานจ้าง
พูดถึง’’ดอกเกลือ ‘’ คุณป้า และคุณลุงที่เล่าถ่ายทอดให้เราฟังคนละช่วง จับความได้ว่า มันคือผลึกของเกลือที่เกิดขึ้นราวบัวแรกแย้ม
เกลือแต่ละย่านให้รสชาติต่างกัน แล้วแต่น้ำทะเลที่ชาวนาเกลือดึงไหลผ่านร่องน้ำผ่านป่าโกงกางกรองตะกอนต่างๆให้เข้ามาในแผ่นดินแล้วถูกกักไว้
กักแล้วรอให้ตกตะกอนจนใสดีแล้วค่อยเคลื่อนน้ำผ่านระหัดวิดน้ำบ้าง กังหันลมบ้างไปกักเติมเพิ่มความเข้มข้นของความเค็มตามสูตรของแต่ละย่าน
จนในที่สุดย้ายน้ำเกลือเข้มข้นนี้ไปเข้าแปลงตากสุดท้ายที่ออกแบบให้เหมาะที่สุดสำหรับการตากจนแห้ง
ตอนที่น้ำยังระเหยออกไปช่วงหนึ่ง จะได้ผลึกหรือดอกเกลือที่จับตัวอยู่บนผิวน้ำ ชาวนาเกลือจะรีบช้อนดอกเกลือขึ้นอย่างระมัดระวัง ถ้าปล่อยโดนลมโดนน้ำค้าง ดอกเกลือจะจมลงหายไป
ดอกเกลือจึงเป็นสิ่งที่ชาวนาเกลือถือเป็นของดี ปราชญ์ชาวบ้าน ลุงเลอพงษ์บรรยายว่าใช้ดอกเกลือทำกับข้าว จะอร่อยเพราะเค็มน้อยกว่าและออกหวานนิดๆไม่เหมือนเกลือปกติ
เกลือทะเลนั้นถ้าตากครบแล้วต้องก่อเป็นกองๆตามแบบภูมิปัญญาถิ่น จากนั้นย้ายกองไปเก็บในยุ้งฉางที่มิดชิด อย่าให้มีฝนหรือความชื้นใดสัมผัสเชียว ไม่งั้นเกลือจะละลายยุบตัว และอาจปนเปื้อนได้
ในแปลงนาเกลือบางจุดจะได้ดีเกลือไปผสมทำยาไทยโบราณ ส่วนน้ำของแปลงนาดีเกลือจะใช้เป็นสารประกอบช่วยให้เต้าหู้แข็งตัวได้ดี ที่คันนาเกลือมักมีต้นชะครามขึ้นอยู่ดาดดื่น ผัดทานได้อร่อยเสียด้วย แต่เนื่องจากผมไม่ได้มุ่งให้บทความนี้ลงลึกเรื่องนาเกลือ ผู้สนใจจึงอาจหาอ่านเพิ่มในเวปวิชาการเรื่องนาเกลือได้อีกหากสนใจ หรือไม่ก็ชวนครอบครัวออกไปปั่นจักรยานเยี่ยมศูนย์เรียนรู้ของชุมชนนาเกลือ กับชิมผัดกุ้งใส่ใบชะครามเสียเลยจะยิ่งดีเยี่ยมเลยครับ
วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
ที่มา https://www.facebook.com/Weerasak-Kowsurat
---------------------------------------------