ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ www.weerasak.org

เว็บไซต์วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ www.weerasak.org
มีความมุ่งมั่นเเละตั้งใจในการเผยแพร่เรื่องราวความรู้ความเข้าใจในการสร้างสรรค์สังคมด้วย การพัฒนาด้านเศรษฐกิจสังคมกฎหมายและการปกครอง เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนเพื่อลูกหลานรุ่นต่อ ๆ ไป
มองโลก มองความยั่งยืน
จบปริญญาโท กฎหมายสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด อดีตสมาชิกในบ้านพิษณุโลกมาตั้งแต่รัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ มีประสบการณ์พัฒนานโยบายสาธารณะมาต่อเนื่อง เป็นนักกฎหมายที่เชื่อมั่นในการพัฒนาที่ยั่งยืน
วีระศักดิ์ โควสุรัตน์
ผู้ที่มีความมุ่งมั่นเเละมีอุดมการณ์ในการสร้างสรรค์สังคมที่มีความเท่าเทียม การพัฒนาประเทศไทยให้มีความทันสมัย เจริญเติบโตควบคู่ไปกับการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อลูกหลานรุ่นต่อ ๆ ไป

 ลงพื้นที่เมืองรอง ตราด จันทบุรี ช่วงครม.สัญจร

4-6 ก.พ.61 ลงพื้นที่เมืองรอง ตราด จันทบุรี ช่วงครม.สัญจร มีอะไรอื่นอีกบ้างไหม ที่ช่วยเมืองรอง ไม่ว่า รัฐบาลจะมีนโยบาย ชูเมืองรองอย่างไรก็ตาม ก็อาจไม่สำเร็จได้เหมือนกันครับ ผมพบว่า แม้เราจะมีรูปถ่าย และเชิญชวน มีแคมเปณต่างๆ มากมาย ยอดนักท่องเที่ยว
 
@ เมืองรองก็อาจไม่เพิ่ม อย่างที่เราคาดหวัง ทำไมน่ะหรือครับ ผมพบบ่อยๆ ว่า เราขาด "เรื่องเล่า" หรือ "story telling" ครับ ปกติคนไทยเล่าเก่ง คุยเก่งนะครับ แต่เรามักไม่ค่อยเขียนเล่า การถ่ายทอดเรื่องราวหรือจะพูดว่า story telling เราน้อยไปนิด ก็ว่าได้ แต่ "story telling" นี่ล่ะครับ ที่เป็นเครื่องมือ เชิญชวน ท่องเที่ยวที่สำคัญ ผมลงพื้นที่แต่ละครั้ง นอกจากไปพูดคุยนโยบายกับเจ้าหน้าที่ ว่า รัฐ กำลังผลักดัน อะไร ก็เลยเล่าให้คนในชุมชน เขาฟังไปด้วย และถามความต้องการ ของชาวบ้าน ของชุมชน ผมก็ใช้ข้อมูลเหล่านั้นล่ะครับ มาประเมิน สิ่งที่ต้องผลักดันให้เป็นรูปธรรม ในแต่ละพื้นที่ ซึ่งสภาพความต้องการ และปัญหาแตกต่างกันไปครับ เวลาลงพื้นที่ ผมจึงทำอีกเรื่องควบคู่กันไปด้วยเสมอครับ คือ เป็นคนเขียนเรื่องราวของพื้นที่นั้นเสียเองด้วย จนมีคนแซวผมเหมือนกันว่า ตกลงผมเป็นรัฐมนตรีกำหนดนโยบาย หรือเป็นรัฐมนตรีนำเที่ยว ที่ผมตั้งใจเขียนถึงชุมชนนั้น ก็เพราะอยากกระตุ้น ให้ทั้งเจ้าหน้าที่ รวมทั้งคนในพื้นที่เอง ช่วยกันเขียนด้วยครับ เมื่อเราช่วยกันเขียนเยอะ ๆ story telling เราก็จะเป็นมนต์เสน่ห์สำหรับพื้นที่นั้นๆ ทำให้คนอยากแวะเวียนไปเที่ยว และเมื่อรวม story telling เข้าด้วยกันเยอะๆ story telling ที่เกิดจากสองมือของเรา ก็จะกลายเป็น big data มหาศาล ที่มาจาก ฝีมือของพวกเราทุกคน ช่วยกันเขียนเล่านะครับ ลองอ่าน story telling ที่ผมเขียน เมื่อไป ตราด และจันทบุรี ดูนะครับ 
 
ผมอาจไม่ได้เขียนแบบ มืออาชีพ แต่หากเกิด ใครอ่านแล้ว นึกอยากแวะไปเยียนที่นั่นขึ้นมา ผมก็คงชื่นใจไม่น้อย เลยล่ะครับ story telling @ ตราด & จันทบุรี วันนี้ผมออกมาเยี่ยมรับฟังชุมชนหลายแห่ง ใน จ.ตราด และจันทบุรีครับ ที่ตราด คนมักไปเที่ยว แต่เกาะช้างจนแน่นขนัด ลืมไปเที่ยวบนฝั่งด้าน จ.ตราด.. ผมไปเยี่ยมชุมชนเปร็ดใน.. ที่นี่มีกระบวนการรักษา ป่าชายเลนที่ฟื้นฟูจนสมบูรณ์มาก..ลงเรือออกตรวจ..แวะทักทายชาวประมงพื้นบ้าน.. ที่ออกมาวางลอบดักปู.. ต่อจากนั้น..ไปชุมชุมบ้านท่าระแนะ... ที่นี่มีของอร่อยชุมชน..มีป่าโกงกางโบราณ ที่ไม่เคยเสื่อมโทรมมาเลย.. น่าชื่นใจนัก...ชาวบ้านและยุวมัคคุเทศก์ตัวน้อยๆได้พาให้ผมปล่อยปูทะเล..ปล่อยหอยพอก..ในพื้นที่อภัยทาน..เพื่ออนุบาลให้พวกเค้าแพร่พันธุ์ต่อ ที่นั่นมีชุมชนจากต่างที่..มาร่วมนำเสนอผลิตภัณฑ์เด่นของชุมชนเยอะเลย..จึงมั่นใจได้ว่า..มาเมืองตราด. ถ้าไม่ข้ามไปเกาะช้าง..ก็สนุกและมีอะไรจริงแท้ให้สัมผัสเยอะเลยครับ.. ทานเที่ยงที่ริมบึงน้ำจืดที่เจ้าของเดิมเคยให้คนขุดหน้าดินไปขาย..ที่นี่มีเหยี่ยวแดงมาอาศัยนับร้อย..โฉบขึ้นลงกินมันหมูที่ครัวร้านอาหารเอามาลอเอยเป็นแพบางๆ..แผล้บเดียวเกลี้ยง..แต่ได้ภาพฝูงเหยี่ยวที่มากมายคล้ายที่เราเห็นฝูงนกพิราบในเมืองยังไงยังงั้น.. นับเป็นครึ่งวันแรกที่จ.ตราดที่มีชีวิตชีวาทีเดียว.. ส่วนอีกแห่งที่ไปสำรวจและตรวจเยี่ยมพร้อมนายกรัฐมนตรีที่จ.ตราด...คือไปที่บ้านเปร็ดใน..มีโครงกระดูกวาฬขนาดใหญ่ที่เหมาะแก่การศึกษา.. ของผู้ที่สนใจ.. บรรยากาศดี..มากๆ ครับ 
เปร็ดเป็นคำเขมร..แปลว่าทางลัด..เปร็ดในจึงมีทางลัดเลาะป่าโกงกางที่งดงามมากออกสู่ทะเลเปิด.. ใครมาเห็นวิวนี้ต้องอึ้งกับความงดงามราวกับป่าธรรมชาติในหนังต่างประเทศ..หลายจุดมีดงหิ่งห้อยเสียด้วย...ท่านอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบอกว่าป่าชายเลนแบบนี้ของไทย..คือจุดตั้งต้นของความหลากหลายอย่างยิ่งของท้องทะเล...พื้นที่เดิมนี้เคยเป็นป่าเสื่อมโทรมเพราะการมาของนากุ้ง..กับสารพัดการตัดไม้โกงกางสมัยที่รัฐไทยยังปล่อยสัมปทานป่าชายเลน..
จนภายหลังปี2538..รัฐสั่งยกเลิกสัมปทานป่าชายเลนทั้งประเทศ..ชาวบ้านจึงหันมาช่วยกันฟื้นฟูป่าผืนนี้จนอุดมสมบูรณ์อย่างน่าตื่นตา...ที่นี่เป็นแหล่งดูนกแปลกๆ..เป็นแหล่งศึกษาธรรมชาติของป่าชายเลน.. มูลนิธิอุทกพัฒน์เข้ามาร่วมกับชาวบ้านทำโครงการกักน้ำจืดด้วยวัสดุง่ายๆไว้ทำเกษตร..และในขณะเดียวกันก็กันน้ำเค็มรุกเข้าที่สวนตัวเองได้ ด้วยไม้กระดานเป็นสันกันน้ำ!! และยังมีการใช้บ่อกุ้งเก่ารวมทั้งบ่อที่ถูกตักหน้าดินขายให้กลายมาเป็นบ่อเก็บน้ำจืด....กระจายทั่วๆบริเวณ... ที่นี่จึงเป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการน้ำที่ดีมาก...
จนคนขอมาดูงานกันหนาแน่น เขียนถึงตราดเสียเยอะ รออ่านเรื่องเมืองจันทรบุรี ต่อนะครับ ผมจะค่อย ๆ มาเขียนเพิ่มครับ มีบางรูปที่เป็นตอนครม.สัญจร เนื้อข่าวว่า ครม.ไปทำอะไร เป็นข่าวเยอะแล้ว ผมคงไม่เล่าซ้ำครับ

ที่มา https://www.facebook.com/Weerasak-Kowsurat

---------------------------------------------