ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ www.weerasak.org

เว็บไซต์วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ www.weerasak.org
มีความมุ่งมั่นเเละตั้งใจในการเผยแพร่เรื่องราวความรู้ความเข้าใจในการสร้างสรรค์สังคมด้วย การพัฒนาด้านเศรษฐกิจสังคมกฎหมายและการปกครอง เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนเพื่อลูกหลานรุ่นต่อ ๆ ไป
มองโลก มองความยั่งยืน
จบปริญญาโท กฎหมายสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด อดีตสมาชิกในบ้านพิษณุโลกมาตั้งแต่รัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ มีประสบการณ์พัฒนานโยบายสาธารณะมาต่อเนื่อง เป็นนักกฎหมายที่เชื่อมั่นในการพัฒนาที่ยั่งยืน
วีระศักดิ์ โควสุรัตน์
ผู้ที่มีความมุ่งมั่นเเละมีอุดมการณ์ในการสร้างสรรค์สังคมที่มีความเท่าเทียม การพัฒนาประเทศไทยให้มีความทันสมัย เจริญเติบโตควบคู่ไปกับการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อลูกหลานรุ่นต่อ ๆ ไป

ปาฐกฐาพิเศษ เรื่อง "การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของไทย"

วิจัยยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพไทย 27 กรกฎาคม 2567 นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ประธานสภาลมหายใจกรุงเทพฯรับเชิญมาปาฐกฐาพิเศษ เรื่อง "การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของไทย" ที่ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ ในโอกาสที่ กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดงานมหกรรม "อว. FAIR 2567" โดยมี ผศ.สุภาวดี โพธิยะราช ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สกสว.สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บพข. (หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ) มอบของที่ระลึกในงานดังกล่าว

โดย นายวีระศักดิ์ ชี้ให้เห็นว่า มูลค่าการท่องเที่ยวด้านสุขภาพของโลกนับแต่พ้นยุคโควิดได้กลับมาฟื้นโตอย่างรวดเร็ว ขยายตัวถึงปีละ 21% มียอดการหมุนเวียนการลงทุนและใช้จ่ายถึง 651พันล้านเหรียญสรอ. ในปี 2022 โดยการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพนับเป็นหนึ่งใน 10 ด้านสำคัญของเศรษฐกิจจากฐานสุขภาพของโลก ที่แบ่งออกเป็น

1.เศรษฐกิจด้านความงาม คือ การดูแลบำรุงผิวภายนอก (Personal Care& Beauty) $1,089พันล้านเหรียญ

2.เศรษฐกิจด้านสหเวชศาตร์และโภชนาการ ดูแลการรับประทานอาหารให้เหมาะสม การควบคุมน้ำหนักตัว (Healthy Eating, Nutrition,& Weight Loss) $1,079 พันล้านเหรียญ

3.เศรษฐกิจการออกกำลังกาย (Physical Activity) $ 976 พันล้านเหรียญ

4.การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism) $651พันล้านเหรียญ

5.เศรษฐกิจจากเวชศาสตร์การป้องกันโรค และเวชกรรมส่วนบุคคล (Public Health Prevention & Personalized Medicine) $615 พันล้านเหรียญ

6.เศรษฐกิจเวชภัณฑ์ ยาทั้งแผนโบราณและแผนปัจจุบัน $ 519 พันล้านเหรียญ

7. การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ด้านสุขภาพ $398 พันล้านเหรียญ

8. เศรษฐกิจด้านสุขวิทยาทางจิต เช่น การบำบัดความเครียด การแก้ปัญหาโรคซึมเศร้า นอนไม่หลับ การฝึกโยคะ การนั่งสมาธิ $181 พันล้านเหรียญ

9. เศรษฐกิจจากการนวดสปาและน้ำพุร้อน $151พันล้านเหรียญ

10. เศรษฐกิจการจัดการสุขภาพในที่ทำงาน เช่น การตรวจสุขภาพประจำปีให้พนักงาน การจัดการอาชีวอนามัยในสถาน ที่ทำงาน $51พันล้านเหรียญ

เมื่อรวมขนาดเศรษฐกิจการดูแลบริการสุขภาพทั้ง 10 ด้านทั่วโลกจะมีขนาดถึง $ 5.6 หมื่นล้านเหรียญทีเดียว ดังนั้น ประเทศไทย เป็นหนึ่งในที่หมายยอดนิยมที่สำคัญในระดับสากลจากผู้สนใจดูแลด้านสุขภาพ ทั้งเพราะมีบริการคุณภาพหลากหลายครอบคลุม มีทักษะการบริการที่อ่อนโยน นุ่มนวล เป็นมิตร เอาใจใส่(Thainess) มีอาหารอร่อยหลากหลาย มีสมุนไพร และมีราคาบริการรักษาพยาบาล ตลอดจนค่าใช้จ่ายการผ่าตัดที่ไม่แพงและคิวรอไม่นานเท่าอีกหลายๆประเทศ แต่มีมาตรฐานคุณภาพที่ดีมาก ดังนั้น การจัดระบบและที่ทางด้านนโยบายและแผนปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทยให้เป็น Caring Economy Base จะเป็นเครื่องมือและความหวังที่สดใสของไทยไปได้อย่างดี

จึงเป็นที่น่ายินดีของประเทศไทย ที่กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.) โดย สกสว. และ บพข.ได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ด้วยการจัดสรรงบประมาณการวิจัยสนับสนุนให้คณะนักวิจัยทำงานร่วมกับภาคเอกชน/ผู้ประกอบการ เพื่อยกระดับและขับอเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพนี้อย่างต่อเนื่อง 

อนึ่ง ในการปาฐกฐานี้ได้รับเกียรติจากจากคุณHONG JE HE ที่ปรึกษาของประธานาธิบดีเกาหลีใต้มาร่วมรับฟังด้วย